รายละเอียด:
1 ใน 1000 องค์ ครับ
พระกริ่ง จปร. ครบรอบ 100 ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2513 เนื้อทองคำ หนัก 24 กรัม (ไม่มีกล่องครับ)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จเป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษก อย่างยิ่งใหญ่ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมในพิธี พร้อมกับพระวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศ 108 รูป น้ำหนักทองคำ 24 กรัม ออกแบบโดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ งามและหายากสุด ๆ เลยครับ..... จัดสร้างเพียง 1,000 องค์ เท่านั้น
1 ใน 1000 องค์ ครับ
พระกริ่ง จปร. ครบรอบ 100 ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ. 2513 เนื้อทองคำ หนัก 24 กรัม (ไม่มีกล่องครับ)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จเป็นประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษก อย่างยิ่งใหญ่ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมในพิธี พร้อมกับพระวิปัสสนาจารย์ทั่วประเทศ 108 รูป น้ำหนักทองคำ 24 กรัม ออกแบบโดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ งามและหายากสุด ๆ เลยครับ..... จัดสร้างเพียง 1,000 องค์ เท่านั้น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพิธีมหาพุทธาภิเษกฯ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่เทศน์ เทสรังสี, หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน พระอาจารย์วัน อุตตโม หลวงพ่อเกษม และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) ครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระศาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษก พร้อมพระเกจิคณาจารย์และพระภาวนาจารย์ รวมทั้งสิ้น 108 รูป เรียกได้ว่า เกือบครบทุกรูปในยุคสมัยนั้นทั่วประเทศ มาร่วมในพิธีอย่างครบครัน ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

พระกริ่งจำลองมาจากพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ศิลปะสมัยคุปตะ ฐานด้านหลังพระกริ่งประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” ใต้ฐานมีการบรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปิดด้วยแผ่นวงกลมตราวัดราชบพิธฯ เป็นรูปตราพระเกี้ยว ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าล้อมด้วยฉัตรเครื่องสูง 5 ชั้น 2 ด้าน
รุ่นนี้นั้น ถือเป็นมหามงคลยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น "ปฐมฤกษ์" ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 และได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ อีก “2 วัน” ด้วยกันคือ วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2514 อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น. และวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้"......
ประวัติการจัดสร้าง
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดประจำของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
และในปีพุทธศักราช 2512 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มีอายุกครบ 100 ปี นับแต่ได้มีการสถาปนา เมื่อปี พ.ศ.2412 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 อันเป็นมงคลยิ่ง วัดราชบพิธฯ จัดงานฉลองเป็นพิธีใหญ่ พร้อมสร้างวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกตามประเพณี
วัตถุมงคลฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประกอบด้วย
1.พระพุทธรูปอังคีรส
2.พระพุทธรูปบูชาศิลปะไทยประยุกต์
3.พระกริ่งจุฬาลงกรณ์
พระกริ่งรุ่นนี้ถวายพระนามเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้ทรงสถาปนาวัดราชบพิธฯ โดยพระกริ่งจำลองมาจากพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ศิลปะสมัยคุปตะ ฐานด้านหลังพระกริ่งประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จปร” ใต้ฐานมีการบรรจุเม็ดกริ่ง แล้วปิดด้วยแผ่นวงกลมตราวัดราชบพิธฯ เป็นรูปตราพระเกี้ยว ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าล้อมด้วยฉัตรเครื่องสูง 5 ชั้น 2 ด้าน
จัดสร้างด้วยเนื้อทองคำ จำนวนเพียง 1,000 องค์ และนวโลหะ จำนวน 5,000 องค์เท่านั้น
และวัตถุมงคลอื่นๆ
นายช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการจัดทำวัตถุมงคลชุดนี้ได้ทำการเจือ โลหะ ที่ได้จากพิธีเททองที่ในหลวงฯรัชกาลที่ 9 เสด็จเททองผสมกับ ชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่าของวัดราชบิธฯ รวมกับแผ่นยันต์พระเกจิจากทั่วประเทศ 108 รูป
พิธีพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม 2514 โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกรที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514
โดยทางวัดฯได้อาราธนาพระเกจิฯที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้น โดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในแต่ละวัน ทั้ง 108 รูป อาทิ
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,
หลวงปู่เทศก์ วัดหินหมากเป้ง,
หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด,
หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช,
หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร,
หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง,
หลวงพี่กี๋ วัดหูช้าง,
หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว,
หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ,
หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย,
พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม,
หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ,
หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา,
หลวงพ่อเกษม เขมโก,
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ,
อาจารย์นำ วัดดอนไร่,
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี,
อาจารย์นอง วัดทรายขาว,
หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า,
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์,
หลวงพ่อเต๋ คงทอง,
หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะบำรุง ฯลฯ อีกมาก รวม 108 องค์