รายละเอียด:
โปรโมชั่น ปีใหม่ 2561 พระกริ่ง-พระชัย ปวเรศ พ.ศ.2554 เนื้อนวะ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพฯ ทรงเททองฯ... สร้างน้อยจำนวนแค่ ๒,๐๐๐ องค์เท่านั้น หายากกว่า ปวเรศ 2530 หลายเท่า หล่อโบราณ ราคาจองบูชาจากวัด ๑๐,๐๐๐ บาท จัดสร้างเพื่อสมทบทุนสร้างหอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช จ.กาญจนบุรี โดยสมเด็จพระวันรัต เป็นผู้ดูแลและควบคุมการจัดสร้างการเททอง การผสมมวลสาร ต่าง ๆ ทุกประการ เพื่อให้ได้พระที่มีความสมบูรณ์ตามสูตรนวะแบบโบราณกาล โดยมีทีมช่างจากพระกริ่งปวเรศ 2530 เป็นผู้ดำเนินการ จำนวนสร้างน้อยจำนวนแค่ ๒,๐๐๐ องค์เท่านั้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จทรงเททอง ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร รุ่นนี้ หายากยิ่งกว่า พระกริ่งปวเรศ 2530 เสียอีกครับ เพราะจำนวนสร้างน้อยกว่ากันเยอะ ฉะนั้น จึงควรค่าแก่การสะสมยิ่งนัก
พระกริ่งปวเรศ เนื้อนวโลหะ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเสด็จเททองเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ สมเด็จพระวันรัต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในการจัดสร้าง ครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนบำรุงหอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จ.กาญจนบุรี ดังนี้
๑. เนื้อทองคำ หนัก ๔๐ กรัม สร้างจำนวน ๒๐๐ องค์
๒. เนื้อนวะ สร้าง ๒,๐๐๐ องค์




ณ บริเวณริมน้ำ ท่าวัดเทวสังฆาราม เป็นที่ตั้งหอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก อาคารทรงไทยยอดเจดีย์ ปลียอดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณรอบอาคารประกอบด้วย อาคารปฏิบัติธรรม ศาลาราย ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก งบประมาณดำเนินการ140 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ 3 ตุลาคม 2554 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระองค์.....
จากนั้นเสด็จเข้าภายในพระอุโบสถ วัดเทวสังฆาราม ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปปางประทานพร ทรงกราบ ทรงประทับพระราชอาสน์ ทรงศีล ต่อจากนั้น นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ถวายรายงาน ก่อนเสด็จฯ ไปยังมณฑลพิธีเททอง ทรงหย่อน แผ่นทอง นาก เงิน ลงในช้อนที่เจ้าพนักงานพระราชพิธีถือถวาย ทรงรับช้อนจากเจ้าพนักงานพระราชพิธี ทรงเทแผ่นทอง นาก เงิน ลงในเบ้า ทรงถือสายสูตรเททองหล่อพระรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเข้าภายในพระอุโบสถ เมื่อเสร็จพิธี ได้เสด็จต่อไปยังหอพระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ณ บริเวณที่ราชพัสดุ ติดกับพื้นที่ระหว่างวัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) และวัดถาวรวราราม ตำบลบ้านเหนือ เสด็จฯเข้าภายในพลับพลาพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กราบบังคมทูลถวายรายงาน และเบิกผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินเข้ารับพระราชทานของที่ระลึก จำนวน 200 ราย จากนั้นได้เสด็จฯทรงตัดริบบิ้นเปิดหอพระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จฯเข้าภายในหอพระประวัติฯ ทอดพระเนตรภายในหอพระประวัติฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการ สมเด็จพระวันรัต ผู้แทนคณะกรรมการการจัดงานฯทูลเกล้าฯถวายของที่ระลึก จากนั้นได้เสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่งกลับ
สำหรับหอพระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 38 ไร่ บริเวณพื้นที่ที่ติดกับวัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) และวัดถาวรวราราม (วัดญวน) อยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ต.บ้านเหนือ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี มีรูปลักษณะอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น รูปทรงไทยยอดเจดีย์พร้อมศาลาราย 4 ทิศ มีซุ้มประตูเข้า-ออกทั้ง 4 ด้านยอดด้านบนสุดมีลักษณะเป็นรูปฉัตรประจำพระองค์ 3 ชั้นด้านบนสุดของยอดฉัตรจะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุบริเวณโดยรอบอาคารประกอบด้วย อาคารปฏิบัติธรรม ศาลาราย ร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึกและท่าเทียบเรือ ส่วนพื้นที่ชั้นล่างสุดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ใช้จัดกิจกรรมและแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ส่วนบริเวณอาคารตรงกลางเป็นบันไดเวียนขึ้นชั้นต่อไปและมีลิฟท์แก้วสำหรับให้คนพิการสามารถขึ้น-ลงได้อย่างสะดวก อาคารหอพระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชันษาครบ ๙๖ ปี และเพื่อเฉลิมพระเกียรติที่มีพระชาติภูมิเป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็นสถานที่ในการเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระประวัติ เครื่องอัฐบริขาร พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก รวมถึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนและเป็นสถานที่พักผ่อนและแห่งท่องเที่ยวโดยทั่วไป