รายละเอียด:
พระกริ่งศาสดา ภปร. เนื้อเงิน วัดบวรนิเวศ ปี ๒๕๓๒ No.๑๐๑๙ (เลขสวยครับ) พร้อมกล่องเดิม นับว่า เป็นพระกริ่งรุ่นแรก หลังจากได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช..
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานลงอักขระแผ่นทอง แผ่นนาก และแผ่นเงิน อย่างละ 5 แผ่น เพื่อนำมาหล่อหลอมเป็นองค์พระกริ่งศาสดา
พิธีเททองโดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประกอบพิธีเททองหล่อพระศาสดาชุดนี้หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม 2532 เวลา 13.18 น. อันเป็นราชาฤกษ์และได้เกณฑ์เพชรฤกษ์และธนโยค
เสียงกริ่งดังฟังชัดครับ
จึงเป็นพระเครื่องที่น่าสะสมไว้บูชาเป็นอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีเททอง และพุทธาภิเษกด้วยพระองค์เองด้วย และยังนับว่าเป็ฯ พระกริ่งรุ่นแรก หลังจากพระองค์ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ด้วยครับ ..
...และปัจจุบันนี้ ทางวัดไม่ค่อยได้จัดสร้างพระกริ่งศาสดาด้วย ส่วนมากจะเป็นพระชินสีห์ ซึ่งจะนิยมจัดสร้างกัน ส่วนพระศาสดานั้น นาน ๆ ถึงจะมีจัดสร้างกันครั้ง นับครั้งได้เลย.....
จึงไม่ควรจะพลาดด้วยประการทั้งปวงครับ....
พระศาสดาภปร.วัดบวรนิเวศ กรุงเทพ พศ.2532 สร้างเนื่องในโอกาสครบ ๒ ทศวรรษโรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ เนื้อชนวนโลหะที่นำมาหลอม นอกจากแผ่นอักขระยันต์และชนวนโลหะมงคลจำนวนมากแล้ว
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานลงอักขระแผ่นทอง แผ่นนาก และแผ่นเงิน อย่างละ 5 แผ่น เพื่อนำมาหล่อหลอมเป็นองค์พระกริ่งศาสดา
พิธีเททองโดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประกอบพิธีเททองหล่อพระศาสดาชุดนี้หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม 2532 เวลา 13.18 น. อันเป็นราชาฤกษ์และได้เกณฑ์เพชรฤกษ์และธนโยค
พระศาสดา ภ.ป.ร สร้างเมื่อปีที่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช รับสถาปนาเป็นตำแหน่งที่"สมเด็จพระสังฆราช" ใหม่ๆ เมื่อปี 2532 เรียกว่าเป็นวัตถุมงคลที่สร้างในพระนาม"สมเด็จพระสังฆราช" ครั้งแรกก็ว่าได้

ประวัติพระศาสดา

พระศาสดา
เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพ

ระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด

ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและมีพระราชดำริว่า พระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารที่เดียวกับพระพุทธชินสีห์ เป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐาน จึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อนเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๗