รายละเอียด:
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ "บูชาพระคุณ" เนื้อทองผสม วาระครบรอบ ๙๐ พรรษา ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
รุ่นนี้ ใช้กรรมวิธีแบบหล่อโบราณ ซึ่งปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีหล่อแบบนี้แล้ว เพราะมีขั้นตอนกระบวนการเยอะ ฉะนั้น รุ่นนี้ จึงเป็นที่สุดแห่งกริ่งที่มีขั้นตอนกระบวนการจัดสร้างตามโบราณประเพณีและมวลสารบรรจุในองค์พระกริ่งแห่งยุคปัจจุบันครับ
องค์นี้ หมายเลข 84 ครับ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงอธิฏฐานจิตเป็นการส่วนพระองค์ และเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2546 เวลา 15.19 น. .
-------------------------------------------------------
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่นบูชาพระคุณ ครบ ๙๐ พรรษา ๓ ตุลาคม ๒๕๔๖ สมเด็จพระญาณสังวร หายากสุด ๆ No.84
ชนวนที่ผสมในองค์พระประกอบ ด้วย ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ รุ่นชนะคน ปี ๒๔๘๑ ชนวน พระกริ่งรุ่นหน้าไทยและรุ่นหน้าอินเดีย ปี ๒๔๘๒ ชนวนพระ กริ่งรุ่นฉลองพระชนม์ ปี ๒๔๘๓ ชนวนพระกริ่งรุ่นเชียงตุง ปี ๒๔๘๖ ชนวนพระกริ่งท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์)หลายรุ่น ชนวน พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัด บวรนิเวศวิหาร เช่น พระกริ่งไพรีพินาศ ปี ๒๔๙๕ ชนวนพระกริ่ง ๗ รอบ ปี ๒๔๙๙ ชนวนพระกริ่งสมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราฯ เช่น ชนวนพระกริ่งบวรรังษี ปี ๒๕๒๘ และชนวนพระกริ่งปวเรศ ๕ รอบ ปี ๒๕๓๐ ทั้งช่อที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประกอบพิธีเททอง แผ่นยันต์ลง อักขระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ สังฆราชฯ ที่ทรงลงเป็นภาษาไทยว่า "อิ สวา สุ"(ลายพระหัตถ์ ภาษาไทย)และทรงอธิษฐานจิต แผ่นทอง นาก และเงินลง อักขระยันต์พระเจ้าอมโลก(ตามตำหรับของหลวงพ่อกลั่น วัด พระญาติฯ)ของสมเด็จพระมหาธีราจารย์(นิยม ฐานิสฺสรมหา เถร ป.ธ.๙)เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราช;รมหาวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคมและเจ้าคณะใหญ่หนกลางผู้สืบทอด พุทธาคมมาจากสายหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม นอก จากนี้ยังมีแผ่นยันต์ลงอักขระของพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยา คุณหลายสิบรูป เช่น หลวงพ่อหลิว หลวงพ่อคูณ หลวงพ่อยิด หลวงพ่อเปิ่น หลวงพ่อสง่า หลวงพ่อพูล หลวงปู่เริ่ม หลวงพ่อ พรหม วัขนอนเหนือ หลวงปู่ม่น หลวงพ่อสง่า ฯลฯ รวมถึง แผ่นยันต์ ๑๐๘ และนะปถมัง ๑๔ นะ ตามตำหรับของสมเด็จ พระสังฆราชแพ ลงโดยท่านอาจารย์ถนอม ตรหุนะ(อาจารย์ ตุ๊กแก)ศิษย์เอกของท่านอาจารย์เทพย์สาริกบุตร ภายในพระ กริ่งทุกองค์บรรจุผงสมเด็จวัดระฆังและผงสมเด็จบางขุน พรหม(ที่ชำรุดและบดเป็นผง) ผงว่านหลวงปู่ทวดวัดช้างไห้ รุ่นแรก ปี ๒๔๙๗(ที่ชำรุดและบดเป็นผง)ผงพุทธคุณของ สมเด็จพระญาณสังวร เช่น ผงสมเด็จพระศาสดารุ่นแรก ผง พระสมเด็จสุคโต ปี ๒๕๑๗ ผงสมเด็จอรหังรุ่นแรก ปี ๒๕๑๙( ที่ชำรุดและบดเป็นผง)รวมถึงพระเกศาของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่เสด็จฯเยือนวัด พุทธรังษีซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ และ ได้ทรงปลงพระเกศาที่ ณ วัดพุทธรังษีฯ และประทานไว้ที่วัด นั้น(เป็นที่ระลึก)
พระกริ่งบูชาพระคุณนี้จัดสร้างโดยอดีต พระนวกะสัทธิวิหาริก(ผู้ได้รับประทานการอุปสมบทจาก พระองค์ท่าน)ในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อเป็นการบูชาพระคุณของพระองค์ ท่านและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระ สังฆราชฯได้ประทานพระนามพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์รุ่นนี้ อย่างเป็นทางการว่า "พระกริ่งบูชาพระคุณ" และ"พระชัย
วัฒน์บูชาพระคุณ" โดยพระกริ่งบูชาพระคุณพิมพ์หน้าใหญ่ ถอดแบบมาจากพระกริ่งพรหมมุนีของสมเด็จพระสังฆราชแพ พระกริ่งบูชาพระคุณพิมพ์หน้าเล็กถอดพิมพ์มาจากพระกริ่ง ฉลองพระชนม์ ๒๔๘๓ ของสมเด็จพระสังฆราชแพ และพระ ชัยวัฒน์บูชาพระคุณถอดพิมพ์มาจากพระชัยวัฒน์วัดบวรฯ ปี ๒๔๙๕ จำนวนสร้างน้อยมากแทบไม่มีของหมุนเวียนในสนาม เลย นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ชุดนี้เททองหล่อด้วยกรรมวิธีแบบ โบราณทุกองค์ ณ มณฑลพิธีหน้าอุโบสถวัดปริวาส(วัดหลวง พ่อวงศ์)ถนนพระราม ๓ เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ โดย ท่านพระครูอนุรักษ์วรคุณ(หลวงพ่อสง่า) วัดบ้านหม้อ จ .ราชบุรี โดยทีมช่างที่เททองหล่อพระกริ่งบวรรังษีและพระ กริ่งปวเรศ ๕ รอบ นำโดยนายช่างประสิทธิ์ พรหมรักษ์(ลุง สิทธิ์) โดยการเข้าดินไทยและเจาะองค์พระด้วยสว่านถึงช่วง พระอุระบรรจุผงพุทธคุณต่าง ๆ และพระเกศาสมเด็จพระ ญาณสังวรด้วยกรรมวิธีแบบเดียวกับการบรรจุผงจิตรลดาและ เส้นพระเจ้าในองค์พระกริ่งปวเรศ ๕ รอบ หลังจากตกแต่ง พระกริ่งเรียบร้อยแล้วได้อัญเชิญพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์บูชา พระคุณไปถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงอธิษฐานจิตเป็นการส่วนพระองค์และ อัญเชิญเข้าพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งคชวัตรรุ่นแรก ปี ๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖ เวลา ๑๕.๑๙ น. โดยท่านเจ้า ประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯทรงจุด เทียนชัยและประทับนั่งปรกอธิษฐานจิตเจริญภาวนาพร้อม กับพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณอีก ๓๔ รูป