รายละเอียด:
พระกริ่ง ---ญาณสังวร---- รุ่น "เชียงแสนสิงห์หนึ่งล้านทอง" เนื้อนวโลหะ สร้าง ๙,๙๑๙ องค์, มีโค้ด ญสส. และตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และหมายเลขกำกับทุกองค์ องค์นี้หมายเลข ๒๐๖ พระองค์ทรงเป็นพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๑ ครบปีที่ ๑๙ ที่ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช.....
....ต้องรีบนะครับ มาก่อนได้ก่อน!!!!!!!
ในวโรกาสนี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกทรงประทานอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก พร้อมทั้งประทานรูปแบบพระกริ่ง เส้นพระเกศา พระจีวร แผ่นทองลงอักขระ และประทานผงอันเป็นมงคลเพื่อนำไปผสมหล่อพระกริ่ง เพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับรูปแบบพระกริ่งเป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง และที่เป็นสิริมงคลยิ่งเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ทรงมีพระเมตตากรุณาในการประทานชื่อพระกริ่งพระกริ่งญาณสังวร (เชียงแสนสิงห์หนึ่งล้านทอง) ซึ่งชื่อของพระกริ่งเป็นชื่อเดียวกับพระนามของพระองค์คือ “สมเด็จพระญาณสังวร” และเป็นพระราชทินนามที่พระองค์ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระกริ่งญาณสังวรนี้นับว่ามีความพิเศษและสำคัญ รวมทั้งมีความเป็นสิริมงคลในหลาย ๆ อย่างด้วยกันและเป็นรุ่นแรกที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานพระนามของพระองค์เป็นชื่อของพระกริ่ง
เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา สำนักลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้จัดพิธีแถลงข่าวโครงการสร้างพระพุทธรูปประจำเมืองเชียงแสน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในวโรกาสปีมหามงคลที่พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ครบ ๑๙ ปี ในวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๙
สำหรับพระพุทธรูปที่จะสร้างในครั้งนี้ได้รับประทานรูปแบบ รับประทานแผ่นทองลงอักขระ และรับประทานผงอันเป็นมงคลจากสมเด็จพระสังฆราช เพื่อนำไปผสมหล่อพระพุทธรูปดังกล่าว รวมทั้งพระกริ่งญาณสังวร และพระพิมพ์นางพญาเชียงแสน ซึ่งคณะกรรมการโครงการฯได้เข้าเฝ้ารับประทานฯ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ณ พระตำหนักคอยท่าปราโมช วัดบวรนิเวศวิหาร
รูปแบบพระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๙ เซนติเมตร ความสูง ๑๑๙ เซนติเมตร (ไม่รวมส่วนฐาน) หล่อด้วยโลหะเนื้อบรอนซ์ (มูลค่าประมาณ ๙๐,๐๐๐ บาท) และพระเกศหล่อด้วยทองคำ น้ำหนัก ๑,๘๑๙ กรัม หรือน้ำหนัก ๑๑๙ บาท (มูลค่าประมาณ ๑,๗๘๙,๐๐๐ บาท) และส่วนพระเกศมีลายอุณาโลม ที่มีลักษณ์คล้ายเลข ๙ ไทย อยู่จำนวน ๙ อันด้วยกัน บนพระมาลามีเม็ดพระศกนับจากกึ่งกลางไปด้านซ้ายและด้านขวาอย่างละ ๙ เม็ด และบัวที่มีจำนวน ๑๙ ดอก น้ำหนักของพระประมาณ ๑๙๙ กิโลกรัม มูลค่ารวมของพระพุทธรูปองค์นี้ประมาณ ๒,๖๗๙,๐๐๐ บาท (สองล้านหกแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันบาท)
วันอาทิตย์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๖.๑๙ น. จะมีพิธีเททองพระเกศทองคำและเททองหลอมโลหะพระพุทธรูปประจำเมืองเชียงแสน ณ สนามวัดบวรนิเวศวิหาร โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ ในพิธีซึ่งในวันพิธีเททอง พระองค์ทรงประทานพระพิมพ์นางพญาเชียงแสน จำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์ (หนึ่งหมื่นองค์) ให้แก่ประชาชนที่มาร่วมพิธีเททองในวันนั้น สำหรับพระพิมพ์นางพญาเชียงแสน นี้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช จัดสร้างจำนวน ๙๙,๙๑๙ องค์ ซึ่งได้รับประทานรูปแบบ มวลสารอันเป็นมงคล เส้นพระเกศา และพระจีวร รวมทั้งมีมวลจากพระบรมธาตุเจดีย์ พระมหาธาตุเจดีย์ และพระธาตุเจดีย์ จำนวน ๑๙ พระธาตุ จากจังหวัดเชียงราย โดยจากพระธาตุอำเภอเชียงแสน ๙ พระธาตุ และอำเภออื่นอีก ๑๐ พระธาตุ อาทิ มวลสารจากพระธาตุวัดพระเจ้าล้านทอง พระธาตุวัดป่าสัก พระธาตุวัดพระธาตุผาเงา พระธาตุวัดพระแก้ว พระธาตุจอมทอง พระธาตุจอมกิติพระธาตุดอยตุง พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทรามหาสันติคีรี ฯลฯ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เพื่อนำมาผสมในพระพิมพ์นางพญาเชียงแสน ซึ่งสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช จะนำพระพิมพ์นางพญาเชียงแสนทูลถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อให้พระองค์ทรงอธิฐานจิตเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนที่จะทรงประทานแก่ประชาชนที่ร่วมบริจาคสร้างพระพุทธรูปประจำเมืองเชียงแสนในครั้งนี้ และประชาชนผู้ที่มีจิตศรัทธาสามารถนำทองคำมาร่วมในพิธีหล่อพระเกศทองคำเพื่อร่วมพระกุศลได้
วันพุธที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๑๙ น. จะมีพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธรูปประจำเมืองเชียงแสน และพระกริ่งญาณสังวร ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธี หลังจากเสร็จพิธีพุทธาภิเษกแล้วจะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปประจำเมืองเชียงแสนไปยังวัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายโดยเครื่องบินกองทัพอากาศจัดถวายร่วมพระกุศล สำหรับวัดพระเจ้าล้านทองเป็นพระอารามหลวง และในปีนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๑) วัดจะมีอายุครบ ๕๑๙ ปี วัดนี้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๒ (จุลศักราช ๘๕๑) ในสมัยพระเจ้าทองวัวหรือทองงัว ผู้ซึ่งเป็นราชบุตรของพระเจ้าติโลกราช ตามตำนานโยนก และในวันพิธีพุทธาภิเษกสมเด็จพระสังฆราช ทรงประทานพระพิมพ์นางพญาเชียงแสน จำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์ ให้กับผู้ที่มาร่วมพิธีในวันนั้น และพระพิมพ์นางพญาเชียงแสนอีกจำนวนหนึ่ง สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช จะแจกในวันพิธีสมโภชพระพุทธรูปฯ ณ วัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งจะจัดสมโภช ๙ วัน ๙ คืนเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ - ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ และในวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งตรงวันสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ครบ ๑๙ ปี ที่สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหารจะแจกพระพิมพ์นางพญาเชียงแสน จำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์
ในวโรกาสนี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกทรงประทานอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก พร้อมทั้งประทานรูปแบบพระกริ่ง เส้นพระเกศา พระจีวร แผ่นทองลงอักขระ และประทานผงอันเป็นมงคลเพื่อนำไปผสมหล่อพระกริ่ง เพื่อความเป็นสิริมงคล สำหรับรูปแบบพระกริ่งเป็นศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง และที่เป็นสิริมงคลยิ่งเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ทรงมีพระเมตตากรุณาในการประทานชื่อพระกริ่งพระกริ่งญาณสังวร (เชียงแสนสิงห์หนึ่งล้านทอง) ซึ่งชื่อของพระกริ่งเป็นชื่อเดียวกับพระนามของพระองค์คือ “สมเด็จพระญาณสังวร” และเป็นพระราชทินนามที่พระองค์ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระกริ่งญาณสังวรนี้นับว่ามีความพิเศษและสำคัญ รวมทั้งมีความเป็นสิริมงคลในหลาย ๆ อย่างด้วยกันและเป็นรุ่นแรกที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานพระนามของพระองค์เป็นชื่อของพระกริ่ง
ย้อนตำนาน'พระกริ่งปวเรศ'อันเลื่องชื่อสู่'พระกริ่งญาณสังวร'วัดบวรฯสุดเข้มขลัง
เมื่อ กล่าวถึงพระกริ่งในประเทศไทยเรามีหลากหลายและแพร่หลายกันมาก ที่สุดยอดหายากและเป็นที่ต้องการคือ “พระกริ่งปวเรศ” แต่น้อยคนนักที่จะทราบความเป็นมา และทราบถึงพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ของ “พระกริ่ง” โดยแท้จริง
วันนี้ขอนำเสนอความเป็นมาของการสร้างพระ กริ่งให้ทราบกันเป็นสังเขป พระกริ่งมีต้นกำเนิดที่ประเทศทิเบตและจีน ส่วนพระกริ่งที่สร้างครั้งแรกในประเทศไทยคือ “พระกริ่งปวเรศ” ผู้ดำริสร้างคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวช และทรงเป็นที่เคารพนับถือของเจ้านายในยุคนั้น พระองค์ทรงสร้างพระกริ่งขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยจำลองแบบจากพระกริ่งจีนใหญ่เพื่อประทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ไม่มีการบันทึกว่าสร้างเท่าใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างจำนวนน้อยมาก ใช้สูตรนวโลหะ ประกอบด้วย ชิน, จ้าวน้ำเงิน, เหล็กละลายตัว, ดีบุก, ปรอท, สังกะสี, ทองแดง, เงิน และทองคำ อันเป็นสูตรเฉพาะของวัดบวรนิเวศวิหารที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน พระกริ่งที่ทรงสร้างครั้งนั้นไม่ได้ทรงตั้งพระนามเอาไว้ แต่ผู้คนทั้งหลายขนานนามตามพระนามผู้สร้างว่า “พระกริ่งปวเรศ”
สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับมหาสมณุตมาภิเษก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ เมื่อพระชนมายุได้ ๘๒ พรรษา ดำรงพระยศเป็นพระมหาสมณเจ้าฯ ได้แค่ ๑๐ เดือน ก็ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ขณะพระชนมายุได้ ๘๓ พรรษา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระโอรสพระองค์ที่ ๑๘ ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงผนวชเป็นพระภิกษุเมื่อมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา พระองค์ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สำนักวัดมหาธาตุฯ ทรงแตกฉานในภาษาบาลี พระนิพนธ์ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลี คือ พระนิพนธ์เรื่อง “สุคตวิทัตถิวิธาน” ซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลี นอกจากนี้ ยังได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เป็นภาษาบาลีอีกหลายเรื่อง นับว่าพระองค์ทรงเป็นปราชญ์ทางภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่ง
ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชาคณะ โดยมีสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะสามัญ
ต่อ มาในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฤกษ์ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย นับว่าทรงเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติพระองค์แรก เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกตลอดรัชกาลรวมเป็น ระยะเวลา ๑๕ ปี ในระหว่างนั้น พระองค์ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สอง รองจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระมหาสังฆปริณายก คือ สมเด็จพระสังฆราช
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในปีเดียวกันนี้ ทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ การที่เลื่อนพระอิสริยยศครั้งนี้ แม้ว่าพระองค์จะไม่ทรงรับถวายมหาสมณุตมาภิเษกในที่สมเด็จพระสังฆราช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ถวายพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์ สูงสุด เท่ากับทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ ก็ยังมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นระยะเวลาถึง ๒๓ ปี จึงได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเจริญพระชนมายุไม่มีพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดใน พระบรมราชตระกูลอันนี้ ที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี ยังดำรงอยู่ก็ดีที่จะมีพระชนมายุเทียมถึง รวมทั้งยังเป็นที่นับถือของคนทั่วไปทั้งฝ่ายคฤหัสถ์และฝ่ายบรรพชิต พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษกเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ (สมเด็จกรมพระยา ในปัจจุบัน)
มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ บวรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุต ปฏิบัติสุทธคณนายก ธรรมนิติสาธกปวรัยยะบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศล สุวิมลปรีชา ปัญญาอรรคมหาสมณุดม บรมพงษาธิบดี จักรกรีบรมนารถ มหาเสนานุรักษ์อนุราชวรางกูร ปรมินทรบดินทรสูรย์หิโตปัธยาจารย์ มโหฬารเมตยาภิธยาไศรย ไตรปิฎกโหรกลาโกศล เบญจปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิธำรง มหาสงฆปรินายก พุทธสาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์ สุนทรวิจิตรปฏิภาณ ไวยัตติยญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนไตรคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคารินรัตน สยามาขิโลกยปฏิพัทธพุทธปริสัษยเนตร สมณคณินทราธิเบศรสกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาดมกษประธานวโรดม บรมนารถบพิตร”
ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมี พระราชดำริว่า การเรียกพระนามพระบรมราชวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระประมุขแห่งสังฆมณฑลแต่ เดิมนั้นเรียกตามพระอิสริยยศแห่งพระบรมราชวงศ์ ไม่ได้เรียกตามสมณศักดิ์ของพระประมุขแห่งสังฆมณฑล คือ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” หรือที่เรียกอย่างย่อว่า “สมเด็จพระสังฆราช” พระองค์จึงเปลี่ยนคำนำพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ซึ่งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระ ประมุขแห่งสังฆมณฑลว่า “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” เพื่อให้ปรากฏพระนามในส่วนสมณศักดิ์ด้วย ดังนั้น จึงเปลี่ยนคำนำพระนามเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์”
ทั้งหมดที่ กล่าวไปในข้างต้นคือประวัติการสร้าง “พระกริ่งปวเรศ” จักรพรรดิแห่งพระกริ่งของประเทศไทย จากนั้นมาก็มีการสร้างพระกริ่งขึ้นอีกหลายวัดตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ แล้วแต่ความเหมาะสม รวมทั้งเกจิชื่อดังหลายรูปก็นิยมสร้างพระกริ่งด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น “พระกริ่งญาณวิทยาคม” ของพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เป็นต้น
หนึ่ง ในพระกริ่งที่ถือว่า “พิธีดี-ปลุกเสกขลัง-เกจิดัง” ต้องยกนิ้วให้ “พระกริ่งญาณสังวร” (สิงห์หนึ่งล้านทอง) เป็นพระกริ่งรุ่นหนึ่งที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงสร้างด้วยพระองค์เอง ในโอกาสทรงได้รับการสถาปนาครบ ๑๙ ปี โดยทรงเลือกรูปแบบและเสด็จทรงประกอบพิธีเททองเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๑ และเสด็จทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารด้วยพระองค์เอง เมื่อวันพุธที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๑
พระ กริ่งรุ่นนี้ มีความพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานพระนามเป็นชื่อ “พระกริ่งญาณสังวร” มีการจัดสร้าง ๒ เนื้อ ได้แก่ เนื้อทองคำหนัก ๔๕.๖ กรัม สร้างตามจำนวนสั่งจอง และเนื้อนวโลหะ สูตรพิเศษของวัดบวรนิเวศวิหาร ทุกองค์ตอกโค้ดและหมายเลขกำกับไว้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีพระผงอีกจำนวนหนึ่ง
โดยสูตรเนื้อโลหะในการหลอม สร้างพระกริ่งรุ่นนี้นั้น วัดบวรนิเวศวิหารใช้นวโลหะสูตรเดียวกันกับพระกริ่งปวเรศ และยังได้ผสมชนวนพระกริ่งปวเรศ และพระกริ่งรุ่นต่าง ๆ ที่เคยจัดสร้างในวัดบวรนิเวศวิหารเอาไว้อีกด้วย ดังนั้นหากผู้ศรัทธาท่านใดไม่สามารถเสาะแสวงหาพระกริ่งปวเรศหรือรุ่นอื่น ๆ มาสักการบูชาได้ ก็สามารถบูชาพระกริ่งญาณสังวรแทนได้ เพราะพระพุทธคุณของพระกริ่งทั้ง ๒ ยุค ไม่แตกต่างกันเลย จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งพระกริ่งหรือเป็น “จักรพรรดิแห่งพระกริ่ง” ของประเทศไทยอย่างแท้จริง