รายละเอียด:
(เช่าบูชา)(เช่าบูชา)(เช่าบูชา)(เช่าบูชา)(เช่าบูชา)(เช่าบูชา)
กริ่งสุวัฑฒโน จัดสร้างขึ้นในวาระมหามงคลโอกาสวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 3 ตุลาคม 2554 จัดได้ว่า เป็นของดีอนาคตไกลนามพระกริ่งที่สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงถวายนามการสร้างพระกริ่งในครั้งนี้
ทางสำนักเลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ขอประทานอนุญาตให้สร้างพระกริ่งพุทธศิลป์แบบจีน ซึ่งมีความงดงามอย่างยิ่ง และได้ถวายนามพระกริ่งว่า “พระกริ่งสุวฑฺฒโน” ซึ่งเป็นพระนามฉายาของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่ได้ประทานอนุญาตให้สำนักเลขาฯ อัญเชิญมาตั้งเป็นนามพระกริ่งและพระผงสมเด็จพระพุทธพิมพ์ รูปแบบของพระกริ่งที่จัดสร้างในครั้งนี้ เป็นพุทธศิลป์แบบธิเบตโบราณ ที่มีความงดงามยิ่ง จีวรครองมีลวดลายวิจิตร ที่พระหัตถ์ทรงหม้อยาวิเศษ ซึ่งเป็นต้นตำหรับของการสร้างพระกริ่ง
ด้านหลังองค์พระกริ่ง ที่ฐานจารึกอักษรว่า “สุวฑฺฒโน” เหนือขึ้นมาเป็นโค๊ดพระนามย่อ ญสส.และหมายเลขกำกับองค์พระกริ่ง ซึ่งพระกริ่งทุกองค์มีหมายเลขกำกับ ใต้ฐานเป็นลายเซ็นพระนามสมเด็จพระญาณสังวร และอักษรขอมเป็นโค๊ดกำกับไว้ “พระสมเด็จสุวฑฺฒโน” มีขนาดเท่ากับพระสมเด็จวัดระฆังที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง และมีพุทธลักษณะเช่นเดียวกันกับพระกริ่ง ประดิษฐานภายในซุ้มเรือนแก้ว ด้านหลังของพระสมเด็จสุวฑฺฒโนประดิษฐานพระนามย่อ ญสส.ใต้ฉัตรสามชั้น และใต้ลงมา เขียนข้อความว่า ๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ วัดบวรนิเวศวิหาร
การสร้างพระสมเด็จสุวฑฺฒโนครั้งนี้ ได้นำมวลสารจากพระสมเด็จวัดระฆัง พระผงสมเด็จบางขุนพรหมซึ่งชำรุดและได้ที่มีผู้นำมาถวายสมเด็จพระสังฆราชฯ และดินจากสังเวชนียสถานจากประเทศอินเดีย ผสมเป็นมวลสารศิริมงคลความเชื่อเกี่ยวกับพระกริ่งที่จัดสร้างในครั้งนี้คือ “ไภสัชยคุรุ” ผู้ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรง ไว้ซึ่งความบริสุทธิ์สมบูรณ์ทั้งจิตใจและกาย พระองค์ทรงรอบรู้ในสัจจะธรรม ทรงหยั่งรู้ในโลกทรงเป็นผู้ชี้ทางให้มวลมนุษย์และเหล่าสรรพสัตว์ ทรงได้มีมหาปณิธานข้อหนึ่งว่า เพียงแต่นามของเราผ่านโสตของเขาเท่านั้น ขอสรรพความเจ็บป่วย จงปราศไปสิ้น จงเป็นผู้มีกายใจอันผาสุก มีบ้านเรือนอาศัยพรั่งพร้อมด้วยธนสารสมบัติ จนที่สุดก็จักได้สำเร็จแก่พระโพธิญาณ เพราะมหปณิธานของพระไภสัชยคุรุพุทธเจ้าดังกล่าวนั้น พุทธศาสนิกชน ฝ่ายมหายาน ในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต เวียดนาม เขมร กระทั่งประเทศไทย จึงเคารพนับถือ พระพุทธปฏิมาของพระไภษัชยคุรุ จึงนิยมสร้างองค์พระปฏิมา ปางถือบาตรน้ำมนต์ หรือผลสมอ ขนาดเล็ก คือพระพุทธรูปพระไภสัชยคุรุที่เรียกกันว่าพระกริ่ง เสียงที่ดังของเม็ดกริ่งที่บรรจุในองค์พระที่ดังแต่ละครั้งจะเท่ากับการปรากฏนามของพระองค์ ซึ่งจะยังความผาสุก ความเจริญมาให้แก่ผู้ที่มีไว้สักการบูชา การสร้างกริ่งครั้งนี้ สำนักเลขาฯ ได้จัดสร้างพระกริ่งเนื้อทองคำ นำ้หนัก 40 กรัม จัดสร้างเพียง 3 เนื้อได้แก่ เนื้อทองคำ, เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองเหลือง โดยได้รับประทานชนวนพระกริ่งหลายๆ รุ่นที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเก็บรวบรวมไว้ ให้นำมาผสมหล่อเป็น “พระกริ่งสุวฑฺฒโน” โปรดให้สร้างจำนวนจำกัด
และเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2554 ได้ประกอบพิธีเททอง ณ สนามวัดบวรนิเวศวิหาร เวลา 15.15 น. โดยมีพระเทพสารเวที ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชประกอบพิธีเททอง พระราชครูวมเทพมุนีเป็นประธานประกอบพพิธีพราหมณ์ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลถาคาประกอบด้วย สมเด็จพระราชาคณะและรองสมเด็จพระราชาคณะมีรายนามดังนี้ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ, สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส, พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม, พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา, พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม, พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม, พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ, พระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม, พระพรหมดิลก วัดสามพระยา
ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน 2554 เวลา 15.19 น. ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระเทพสารเวที ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชประกอบพิธีจุดเทียนชัย มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ประกอบด้วย “สมเด็จพระราชาคณะและรองสมเด็จพระราชาคณะ” มีรายนามดังนี้ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ, สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส, พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา, พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม, พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม, พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ, พระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม, พระพรหมุนี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
และพระสงฆ์เจริญคาถาพุทธาภิเษกจากวัดสุทัศน์เทพวราราม ประกอบด้วยพระคณาจารย์นั่งบริกรรมจิตภาวนาอธิฐานจิตประกอบด้วย พระธรรมธีราชมหามุนี (เที่ยง) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ, พระพิพิธพัฒนาธร (สมชาย) วัดปริวาสราชสงคราม กรุงเทพฯ, พระสิทธิพัฒนาทร (หมู) วัดทรงธรรมวรวิหาร จ.สมุทรปราการ, พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตฺโต) วัดโนสว่าง จ.อุดรธานี, พระครูจันทนิภากร (ถวิล จนฺทสโร) วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ จ.เชียงราย, พระครูวิมลสมณวัตร (เพี้ยน อคฺคธมฺโม) วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี, พระมหาสุรศักดิ์ อติสกฺโข วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม, พระสัญญา (คง) กมฺมสุทฺโธ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม, พระสิริ สิริวฑฺฒโน วัดตาล จ.นนทบรี
จึงนับได้ว่าเป็นกริ่งที่ควรค่าแก่การสะสมอีกรุ่นหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร