รายละเอียด:
พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร รุ่นผ้าป่าสิงห์บุรี 2528 เพื่อสมทบทุนสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี จำนวนสร้าง ๑,๕๐๐ องค์ สร้างจากชนวนพระกริ่งไพรีพินาศรุ่นแรก ปี ๒๔๙๕ เป็นหลัก มาผสมผสานกับชนวนพระกริ่งบวรรังสี ๒๕๒๘ และชนวนพระกริ่งรุ่นเก่า ๆ ของวัดบวรฯ และได้รับการแกะและตกแต่งแม่พิมพ์โดยอาจารย์นายช่างมนตรี(มาลี) พัฒนางกูร แห่งพัฒนช่าง ทำให้พระพุทธลักษณะเป็นแบบเดียวกับพระกริ่งไพรีพินาศรุ่นแรก กระแสเนื้อก็เหมือนกัน(เพราะมีเนื้อพระเก่าปี๒๔๙๕)ผสมอยู่มาก สมเด็จญาณสังวรฯ ประกอบพิธีเททองหล่อ วันอาทิตย์ ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๘ เวลา ๐๘.๒๙ น ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๒๘ เวลา ๑๓.๑๙ น ถึงเวลา ๒๒.๐๐ น สมเด็จญาณสังวรฯและพระเถราจารย์นั่งปรกบริกรรม เจริญภาวนา ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร พระกริ่งไพรีพินาศรุ่นนี้เรีกว่า "พระกริ่งไพรีพินาศรุ่นนิรันตราย" เพราะในขณะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งไพรีพินาศรุ่นนี้(พร้อมพระบูชาและพระชัย วัฒน์จำนวนหนึ่ง) ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร อยู่นั้น ปรากฏกว่าสายสูตร(หรือสายสิญจน์)ซึ่งโยงมาจากเบ้าหล่อและท่านเจ้าประคุณ สมเด็จฯทรงถือบริกรรมภาวนาพระคาถาและทรงอธิษฐานจิตอยู่นั้น สายสูตร(หรือสายสิญจน์)ได้ถูกลมพัดไปพาดกับเบ้าน้ำทองที่ร้อน ๆ อยู่ปรากฏว่าสายสูตร(สายสิญจน์)ไม่ขาดออกหรือโดนไฟไหม้แม้แต่น้อย แสดงถึงพระพลังจิตของพระองค์ท่านแกร่งดุจดังเพชร(วชิรญาณ)ตามแบบฉบับของ สำนักวิปัสสนาสายวัดบวรนิเวศวิหารที่มีพระวชิรญาณเถระ(พระภิกษุพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔)และเจ้าอาวาสพระองค์ต่อ ๆ มาก็ทรงพระนาม"วชิรญาณ" เกือบทุกพระองค์(คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสและสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) ที่สำคัญพระพุทธคุณของพระกริ่งไพรีพินาศ รุ่นผ้าป่าสิงห์บุรี ๒๕๒๘ สามารถใช้แทนพระกริ่งไพรีพินาศรุ่นแรกที่ราคาไปไกลมากแล้วได้อย่างสบาย และยังมีข้อยุติตรงที่มีการตอกโค๊ตไว้ที่องค์พระด้วย ปัจจุบันค่อนข้างหายากนักสะสมที่ทราบความสำคัญต่างเก็บเข้ารังกันหมด

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก(สุวฑฺฒนมหา เถร) เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรีมีพระนามเดิมว่าเจริญคชวัตรประสูติเมื่อวันที่๓ตุลา คมพ.ศ. ๒๔๕๖ เวลาประมาณ๐๔.๐๐น. เศษ(นับอย่างปัจจุบันเป็นวันที่๔ตุลาคม) ตรงกับวันศุกร์ขึ้น๔ค่ำเดือน๑๑ปีฉลูณตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัด กาญจนบุรีพระชนกชื่อนายน้อยคชวัตรพระชนนีชื่อนางกิมน้อยคชวัตร
บรรพชนของเจ้าพระคุณสมเด็จฯมีประวัติความเป็นมาน่าสนใจเพราะมาจาก๔ทิศ ทางกล่าวคือพระชนกมีเชื้อสายมาจากกรุงเก่าทางหนึ่งจากปักษ์ใต้ทางหนึ่งส่วน พระชนนีมีเชื้อสายมาจากญวนทางหนึ่งจากจีนทางหนึ่ง
นายน้อยคชวัตร
เป็น บุตรนายเล็กและนางแดงอิ่มเป็นหลานปู่หลานย่าของหลวงพิพิธภักดีและนางจีนหลวง พิพิธภักดีนั้นเป็นชาวกรุงเก่าเข้ามารับราชการในกรุงเทพฯได้ออกไปเป็นผู้ ช่วยราชการอยู่ที่เมืองไชยาคราวหนึ่งและเป็นผู้หนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๓ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ไปคุมเชลยศึกที่เมือง พระตะบองคราวหนึ่งหลวงพิพิธภักดีได้ภรรยาเป็นชาวไชยา๒คนชื่อทับคนหนึ่งชื่อ นุ่นคนหนึ่งและได้ภรรยาเป็นชาวพุมเรียงอีกคนหนึ่งชื่อแต้มต่อมาเมื่อครั้ง พวกแขกยกเข้าตีเมืองตรังเมืองสงขลาของไทยเมื่อพ.ศ. ๒๓๘๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาศรี พิพัฒน์(ทัดซึ่งต่อมาได้เป็นที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติในรัชกาล ที่๔) เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบปรามหลวงพิพิธภักดีได้ไปในราชการทัพครั้งนั้นด้วยและ ไปได้ภรรยาอีกหนึ่งชื่อจีนซึ่งเป็นธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง(สน) เป็นหลานสาวของพระตะกั่วทุ่งหรือพระยาโลหภูมิพิสัย(ขุนดำชาวเมืองนครศรี ธรรมราช) ต่อมาหลวงพิพิธภักดีได้พาภรรยาชื่อจีนมาตั้งครอบครัวอยู่ในกรุงเทพฯและได้ รับภรรยาเดิมชื่อแต้มจากพุมเรียงมาอยู่ด้วย(ส่วนภรรยาอีก๒คนได้ถึงแก่กรรมไป ก่อน)
เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีคือพระยาพิชัยสงครามเป็นเจ้าเมืองศรี สวัสดิ์กาญจนบุรีและมีอาชื่อพระยาประสิทธิสงคราม(ขำ) เป็นเจ้าเมืองกาญจนบุรีต่อมาหลวงพิพิธภักดีลาออกจากราชการและได้พาภรรยา ทั้ง๒คนมาตั้งครอบครัวอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี
กล่าวกันว่าหลวงพิพิธภักดีนั้นเป็นคนดุเมื่อเป็นผู้ช่วยราชการอยู่ที่เมือง ไชยาเคยเฆี่ยนนักโทษตายทั้งคาเป็นเหตุให้หลวงพิพิธภักดีเกิดสลดใจลาออก จากราชการแต่บางคนเล่าว่าเหตุที่ทำให้หลวงพิพิธภักดีต้องลาออกจากราชการนั้น ก็เพราะเกิดความเรื่องที่ได้ธิดาพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่งชื่อจีนมาเป็นภรรยา นั่นเอง
เมื่อพี่ชายคือพระพิชัยสงครามทราบว่าหลวงพิพิธภักดีอพยพครอบครัวมาอยู่ที่ เมืองกาญจนบุรีก็ได้ชักชวนให้เข้ารับราชการอีกแต่หลวงพิพิธภักดีไม่สมัครใจ และได้ทำนาเลี้ยงชีพต่อมา
นายน้อยคชวัตรได้เรียนหนังสือตลอดจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ๒พรรษาอยู่ใน สำนักของพระครูสิงคบุรคณาจารย์(สุด) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านพระครูสิงคบุรคณาจารย์นั้นเป็นบุตรคนเล็กของหลวงพิพิธ ภักดีกับนางจีนเป็นอาคนเล็กของนายน้อยเมื่อลาสิกขาแล้วนายน้อยได้เข้ารับ ราชการเป็นเสมียนสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เมืองกาญจนบุรีและได้แต่งงานกับนาง กิมน้อยในเวลาต่อมา
นางกิมน้อยมาจากบรรพชนสายญวนและจีนบรรพชนสายญวนนั้นได้อพยพเข้ามาเมืองไทยใน สมัยรัชกาลที่๓เมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินเดชา(สิงห์ต้นตระกูลสิงหเส
นี) ยกทัพไปปราบจราจลเมืองญวนได้ครอบครัวญวนส่งเข้ามาถวายพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกญวนที่นับถือพระพุทธศาสนาไป ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กาญจนบุรีเมื่อปลายปีพ.ศ. ๒๓๗๒ เพื่อทำหน้าที่รักษาป้อมเมืองส่วนพวกญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ให้ไปตั้งบ้าน เรือนอยู่กับพวกญวนเข้ารีดที่เมืองสามเสนในกรุงเทพฯบรรพชนสายญวนของนางกิม น้อยเป็นพวกญวนที่เรียกว่า“ญวนครัว”
ส่วนบรรพชนสายจีนนั้นได้โดยสารสำเภามาจากเมืองจีนและได้ไปตั้งถิ่นฐานทำการค้าอยู่ที่กาญจนบุรี
นางกิมน้อยเป็นบุตรีนายทองคำ(สายญวน) กับนางเฮงเล็กแซ่ตัน(สายจีน) เกิดที่ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองกาญจนบุรีเมื่อแต่งงานกับนายน้อยแล้วได้ใช้ ชื่อว่าแดงแก้วแต่ต่อมาก็กลับไปใช้ชื่อเดิมคือกิมน้อยหรือน้อยตลอดมา
นายน้อยคชวัตรเริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียนแล้วเลื่อนขึ้นเป็นผู้รั้งปลัด ขวาแต่ต้องออกจากราชการเสียคราวหนึ่งเพราะป่วยหนักหลังจากหายป่วยแล้วจึง กลับเข้ารับราชการใหม่เป็นปลัดขวาอำเภอวังขนายกาญจนบุรีต่อมาได้ย้ายไปเป็น ปลัดอำเภออัมพวาจังหวัดสมุทรสงครามเกิดป่วยเป็นโรคเนื้อร้ายงอกจึงกลับมา รักษาตัวที่บ้านกาญจนบุรีและได้ถึงแก่กรรมเมื่อมีอายุเพียง๓๘ปีได้ทิ้งบุตร น้อยๆให้ภรรยาเลี้ยงดู๓คนคือ
๑. เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช(เจริญคชวัตร)
๒. นายจำเนียรคชวัตร
๓. นายสมุทรคชวัตร(ถึงแก่กรรมแล้ว)
สำหรับเจ้าพระคุณสมเด็จฯนั้นป้าเฮงผู้เป็นที่สาวของนางกิมน้อยได้ขอมาเลี้ยง ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงอยู่ในความเลี้ยงดูของป้าเฮงมาตลอดจนกระทั่งทรง บรรพชาเป็นสามเณรป้าเฮ้งได้เลี้ยงดูเจ้าพระคุณสมเด็จฯด้วยความถนุถนอมเอาใจ เป็นอย่างยิ่งจนพากันเป็นห่วงว่าจะทำให้เสียเด็กเพราะเลี้ยงแบบตามใจเกินไป
ชีวิตในปฐมวัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯนับว่าเป็นสุขและอบอุ่นเพราะมีป้าคอยดูแล เอาใจใส่อย่างถนุถนอมส่วนที่นับว่าเป็นทุกข์ของชีวิตในวัยนี้ก็คือความเจ็บ ป่วยออดแอดของร่างกายในเยาว์วัยเจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ จนคราวหนึ่งทรงป่วยหนักถึงกับ ญาติๆพากันคิดว่าคงจะไม่รอดและบนว่าถ้าหายป่วยจะให้บวชแก้บนเรื่องนี้นับ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯทรงบรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา
พระนิสัยของเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อเยาว์วัยนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นบุพพนิมิต หรือเป็นสิ่งแสดงถึงวิถีชีวิตในอนาคตของพระองค์ได้อย่างหนึ่งกล่าวคือเมื่อ ทรงพระเยาว์พระนิสัยที่ทรงแสดงออกอยู่เสมอได้แก่การชอบเล่นเป็นพระหรือเล่น เกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเล่นสร้างถ้ำก่อเจดีย์เล่นทอดผ้าป่า ทอดกฐินเล่นทิ้งกระจาดแม้ของเล่นก็ชอบทำของเล่นที่เกี่ยวกับพระเช่นทำ คัมภีร์เทศน์เล็กๆตาลปัตรเล็กๆ(คือพัดยศเล็กๆ)
พระนิสัยที่แปลกอีกอย่างหนึ่งของเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อเยาว์วัยคือทรงชอบ เล่นเทียนเนื่องจากป้าต้องออกไปทำงานตั้งแต่ยังไม่สว่างเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงต้องพลอยตื่นแต่ดึกตามป้าด้วยแล้วไม่ยอมนอนต่อป้าจึงต้องหาของให้เล่นคือ หาเทียนไว้ให้จุดเล่นเจ้าพระคุณสมเด็จฯก็จะจุดเทียนเล่นและนั่งดูเทียนเล่น อยู่คนเดียวจนสว่าง
พระนิสัยในท
างไม่ ดีก็ทรงมีบ้างเช่นเดียวกับเด็กทั่วไปดังที่ทรงเคยเล่าว่าเมื่อเยาว์วัยก็ทรง ชอบเลี้ยงปลากัดชนไก่และบางครั้งก็ทรงหัดดื่มสุราดื่มกระแช่ไปตามเพื่อนแต่ พระนิสัยในทางนี้มีไม่มากถึงกับจะทำให้กลายเป็นเด็กเกเร
เมื่อพระชนมายุได้๘ขวบเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงเริ่มเข้าโรงเรียนคือโรงเรียน ประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งใช้ศาลาวัดเป็นโรงเรียนจนจบชั้นประถม๓เท่ากับจบ ชั้นประถมศึกษาในครั้งนั้นหากจะเรียนต่อชั้นมัธยมจะต้องย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนมัธยมวัดชัยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุดท้ายทรงตัดสินพระทัยเรียนต่อชั้นประถม๔ซึ่ง จะเปิดสอนต่อไปที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามนั้นแล้วก็จะเปิดชั้นประถม๕ต่อไป ด้วย(เทียบเท่าม.๑และม.๒แต่ไม่มีเรียนภาษาอังกฤษ) ในระหว่างเป็นนักเรียนทรงสมัครเป็นอนุกาชาดและลูกเสือทรงสอบได้เป็นลูกเสือ เอกทรงจบการศึกษาชั้นประถม๕เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๘ พระชนมายุ๑๒พรรษา
หลังจากจบชั้นประถม๕แล้วทรงรู้สึกว่ามาถึงทางตันไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและ ไม่รู้ว่าจะไปเรียนที่ไหนเพราะขาดผู้นำครอบครัวที่จะเป็นผู้ช่วยคิดช่วยแนะ นำตัดสินใจทรงเล่าว่าเมื่อเยาว์วัยทรงมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาดกลัวต่อคน แปลกหน้าและค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่ เคยแยกจากกันเลยจึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น
บรรพชาอุปสมบท
ในปีรุ่งขึ้นคือพ.ศ. ๒๔๖๙ น้าชาย๒คนจะบวชเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามพระชนนีและป้าจึงชักชวนเจ้าพระคุณสมเด็จ
ฯ ซึ่งขณะนั้นพระชนมายุย่าง๑๔พรรษาให้บวชเป็นสามเณรแก้บนที่ค้างมาหลายปีแล้ว ให้เสร็จเสียทีเจ้าพระคุณสมเด็จฯจึงตกลงพระทัยบวชเป็นสามเณรที่วัด เทวสังฆารามในปีนั้น โดยพระครูอดุลยสมณกิจ (ดีพุทธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม ซึ่งเรียกกันว่า “หลวงพ่อวัดเหนือ”เป็นพระอุปัชณาย์(สุดท้ายได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชา คณะชั้นเทพที่พระเทพมงคลรังษี) พระครูนิวิฐสมาจาร(เหรียญสุวณณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลารามซึ่งเรียกกันว่า“หลวงพ่อวัดหนองบัว”เป็นพระอาจารย์ ให้สรณะและศีล
ก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรเจ้าพระคุณสมเด็จฯไม่เคยอยู่วัดมาก่อนเพียงแต่ ไปเรียนหนังสือที่วัดจึงไม่ทรงคุ้นเคยกับพระรูปใดในวัดแม้หลวงพ่อวัดเหนือ ผู้เป็นพระอุปัชณาย์ของพระองค์ก็ไม่ทรงคุ้นเคยมาก่อนความรู้ความสนใจเกี่ยว กับเรื่องวัดก็ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกันนอกจากการไปวัดในงานเทศกาลการไปทำบุญ ที่วัดกับ
ป้า และเป็นเพื่อนป้าไปฟังเทศน์เวลากลางคืนในเทศกาลเข้าพรรษาซึ่งที่วัดเหนือมี เทศน์ทุกคืนตลอดพรรษาทรงเล่าว่าถ้าพระเทศน์เรื่องชาดกก็รู้สึกฟังสนุกเมื่อ ถึงเวลาเทศน์ก็มักจะเร่งป้าให้รีบไปฟังแต่ถ้าพระเทศน์ธรรมะก็ทรงรู้สึกว่า ไม่รู้เรื่องและเร่งป้าให้กลับบ้านกล่าวได้ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯเมื่อทรงพระ เยาว์นั้นแทบจะไม่เคยห่างจากอกของป้าเลยยกเว้นการไปแรมคืนในเวลาเป็นลูกเสือ บ้างเท่านั้นในคืนวันสุดท้ายก่อนที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้นป้าพูดว่า“คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายที่จะอยู่ด้วยกัน”ซึ่ง ก็เป็นความจริงเพราะหลังจากทรงบรรพชาเป็นสามเณรแล้วก็ไม่ทรงมีโอกาสกลับไป อยู่ในอ้อมอกของป้าอีกเลยจนกระทั่งป้าเฮงถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๗
กล่าวได้ว่าชีวิตพรหมจรรย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯนั้นเริ่มต้นจากการบวชแก้บน เมื่อทรงบรรพชาแล้วก็ทรงอยู่ในความปกครองของหลวงพ่อวัดเหนือและทรงเริ่มคุ้น เคยกับหลวงพ่อมากขึ้นเป็นลำดับ
พรรษาแรกแห่งชีวิตพรหมจรรย์ณวัดเทวสังฆารามเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ยังไม่ได้เล่าเรียนอะไรมีแต่ท่องสามเณรสิกขา(คือข้อพึงป
ฏิ บัติสำหรับสามเณร) และท่องบททำวัตรสวดมนต์เท่านั้นส่วนกิจวัตรก็คือการปฏิบัติรับใช้หลวงพ่อผู้ เป็นพระอุปัชฌาย์มีสิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อสอนในระหว่างที่ทำอุปัชฌาย์วัตร(คือ การปฏิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์) ก็คือการต่อเทศน์
แบบที่เรียกกันว่าต่อหนังสือค่ำอันเป็นวิธีการเรียนการสอนอย่างหนึ่งในสมัย โบราณกล่าวคือเมื่อเข้าไปทำอุปัชฌาย์วัตรในตอนค่ำมีการบีบนวดเป็นต้นหลวงพ่อ ก็จะอ่านเทศน์ให้ฟังคืนละตอนแล้วท่องจำตามคำอ่านของท่านทำต่อเนื่องกันไปทุก คืนจนจำได้ทั้งกัณฑ์กัณฑ์เทศน์ที่หลวงพ่อต่อให้คือเรื่องอริยทรัพย์๗ประการ เมื่อทรงจำได้คล่องแล้วหลวงพ่อก็ให้ขึ้นเทศน์ปากเปล่าให้ญาติโยมฟังในโบสถ์ คืนวันพระวันหนึ่งในพรรษานั้นหลังจากเทศน์ให้ญาติโยมฟังแล้วเจ้าพระคุณ สมเด็จฯยังทรงบันทึกเทศน์กัณฑ์นี้ไว้ในสมุดบันทึกส่วนพระองค์ด้วย
24/08/2553 (update 24/08/2553)