รายละเอียด:
พระไพรีพินาศ ญส. วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2530 พระเกจิทั่วประเทศร่วมพุทธาภิเษกร่วมกับพระกริ่งปวเรศ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร


พิธีพุทธาภิเษกในคืนวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2529 ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมาร ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธี สมเด็จพระญาณสังวร ประธานพิธีอธิฐานจิต และพระเกจิอีกมากมายดังนี้ 1.พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร 2.หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน กรุงเทพมหานคร 3.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังค์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี 4.พระครูอาคมวิสุทธิ (คง) วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี 5.พระครูญาณวรกิจ (กล้วย) วัดหมูคุด จ.จันทบุรี 6.พระรัตนคุณากร (แช่ม) วัดบ่อพุ จ.จันทบุรี 7.พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ 8.พระครูเมธีธรรมสาธก (หนู) วัดสุนทรพิชิตาราม จ.นครนายก 9.หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม 10.พระภาวนาพิศาลเถร (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา 11.พระอาจารย์นก วัดเขาแก้ว จ.นครสวรรค์ 12.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี 13.พระครูนนทสมณวัตร (เหรียญ) วัดบางระหงษ์ จ.นนทบุรี 14.พระครูวิเศษภัทรกิจ (ทองใบ) วัดสายไหม จ.ปทุมธานี 15.พระอาจารย์ฟัก วัดนิคมประชาสรรค์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 16.พระวิสุทธาจารคุณ (เกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 17.พระครูปลัดพรหม วัดขนอนเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา 18.พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด 19.พระครูอนุรักษ์วรคุณ (สง่า) วัดหนองม่วง จ.ราชบุรี 20.พระครูสมุทรวิจารณ์ (คลี่) วัดประชาโฆศิตาราม จ.สมุทรสงคราม 21.พระครูอาทรธรรมนิเทศก์ (ทองอยู่) วัดท่าเสา จ.สมุทรสาคร 22.พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม 23.พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จ.สระบุรี 24.พระครูสรกิจพิจารณ์ (ผัน) วัดราษฎร์เจริญ จ.สระบุรี 25.พระครูสาธุกิจวิมล (เล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม 26.หลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร จ.นครปฐม 27.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม 28.พระครูเกษมธรรมานันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม 29.พระครูนนทสิทธิการ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย จ.นนทบุรี 30.พระครูวิจิตรธรรมานุวัตร วัดหนองกระบอก จ.ระยอง 31.พระวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงษ์) วัดตรีทศเทพ 32.พระครูปริยัติคุณาธาร วัดชนะสงคราม 33.พระญาณสมโพธิ (ขวัญ) วัดอรุณราชวราราม 34.พระปริยัติมุนี ( ชูศักดิ์ ) วัดหงส์รัตนาราม 35.พระครูมงคลญาณสุนทร (ผ่อง) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส 36.พระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิตร
พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อม มีขนาดหน้าพระเพลา๓๓ เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปแบบธยานิพุทธเจ้า ปางประทานพร สมัยศรีวิชัย แต่นักสังเกตบางคนสงสัยว่า “พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย มีเพียงเกตุมาลา เป็นจอมคล้ายสมัยทราวดีเป็นพื้น” พระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อยังทรงผนวชอยู่ ราว พ.ศ.๒๓๙๑ ได้ถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ”
ซุ้มเก๋ง ด้านเหนือแห่งพระเจดีย์นั้น เป็นที่ประดิษฐานพระไพรีพินาศ ในการบูรณปฏิสังขรณ์ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗-๘ นี้ ทำประตูเหล็ก ๒ ชั้น ช่องหน้าต่างใส่เหล็กทั้งสองข้าง ฝาผนังปิดโมเสก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ปิดทองพระไพรีพินาศ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ด้วย
ในหนังสือตำนานวัดมีกล่าวว่า “พระไพรีพินาศ ใคร่ครวญตามพระนามน่าจะได้เชิญประดิษฐานไว้ในเก๋งน้อยที่สร้างใหม่ ณ ทักษิณชั้นบนแห่งพระเจดีย์ในครั้งนั้น เว้นไว้แต่จักได้ประดิษฐานไว้แล้วในครั้งยังทรงผนวชเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ ที่เป็นคราวสิ้นเสี้ยนศัตรู ครั้งแรก”
พระไพรีพินาศ ในสาสน์สมเด็จ
เล่ม ๒ หน้า ๘๕-๙๐-๑๑๖
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตั้งปัญหาถามกระหม่อมว่า พระไพรีพินาศนั้น เป็นพระอะไร มาแต่ไหน ทำไมจึงมาอยู่วัดบวรนิเวศ เหตุใดจึงชื่อว่า ไพรีพินาศ เกล้ากระหม่อมหงายท้อง ไม่สามารถตอบได้ อยากรู้เหมือนกัน เคยทูลถามฝ่าพระบาทก็ไม่ทรงทราบเหมือนกัน หันไปหันมาเห็นกรมหมื่นพงศา จึงลองเข้าจดทูลถามดู ตรัสบอกว่า ใครก็ทรงจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว เป็นผู้นำมาถวายทูลกระหม่อมเมื่อยังทรงผนวชอยู่ เป็นเวลาติดต่อกับที่หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษ จึงโปรดตั้งพระนามว่า "พระไพรีพินาศ”
พระไพรีพินาศเจีดย์ เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการบูรณะพระเจดีย์ใหญ่ได้เปิดองค์พระไพรีพินาศเจดีย์ดู พบกระดาษสีขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนว่า "พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ" อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า "เพระตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ"
คาถาบูชาพระไพรีพินาศ
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สุจิรํ ปรินิพฺพุโต
คุเณหิ ธรมาโนทานิ ปารมีหิ จ ทิสฺสติ
ยาวชีวํ อหํ พุทธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คโต
ปูเชมิ รตนตฺตยํ ธมฺมํ จรามิ โสตฺถินา.
//www.watbowon.com/travel/great_chedi.htm