รายละเอียด:
พระกริ่งไพรีพินาศ ๕๐ ปี ครองราชย์ ฐานด้านหน้าประดิษฐานตราสัญลักษณ์ทรงครองสิริราชสมบัติครองราชย์ ครบ ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านหลังสลักว่า พระไพรีพินาศ ส่วนใต้ฐานประดิษฐานพระปรมาภิไธย ภปร. องค์นี้เนื้อเงินพ่นทราย พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ หมายเลขสุดสวย NO.๔๗ ครับ




พระกริ่งไพรีพินาศเฉลิมพระเกียรติ์ 50 ปี ครองสิริราชสมบัติ ครบ50ปีและ พระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร จัดสร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในพิธี กาญจนาภิเษก และการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก จัดสร้างพระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร พระกริ่งไพรีพินาศ และเชิญตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ประดิษฐานที่ฐานบัวขององค์พระสำหรับการตอบแทนผู้มีจิตรศรัทธาบริจากสมทบ โครงการ ซึ่งถือว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งใหญ่สูงสุดที่ พุทธศาสนิกชนพสกนิกรผู้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ จะได้มีโอกาสมีพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทรงสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลของพระองค์และพระราชทาน สำหรับประจำจังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัด ซึ่งประชาชนทั่วไปไม่มีโอกาสมีไว้เป็นที่สัการะบูชาเป็นสมบัติส่วนตนได้ เนื่อง ในปีมหามงคลวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50ปีนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จัดสร้างสำหรับพุทธศาสนิกชนพสกนิกรผู้มีจิตรศรัทธามีไว้เป็นที่สัการะ บูชาเป็นสมบัติส่วนตนได้ จึงนับว่าเป็นโอกาสอันประเสริฐยิ่ง
รายละเอียดในการจัดสร้าง
พระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร ขนาดสูง 3.2 ซ.ม.
1.ชุดพิเศษ เนื้อทองคำ เนื้อนาค เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อเงิน เนื้อทอง 93 (1 ชุด 5 องค์) สร้าง 599 ชุด
2.เนื้อทองคำ เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อเงิน (1 ชุด 3 องค์) สร้าง 2539 ชุด
3.เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 9500 องค์
4.เนื้อเงิน สร้าง 9500 องค์
พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร ขนาดสูง 1.9 ซ.ม.
1.เนื้อทองคำ เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อเงิน (1 ชุด 3 องค์) สร้าง 2539 ชุด
2. เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 9500 องค์
3. เนื้อเนื้อเงิน สร้าง 9500 องค์
พระไพรีพินาศ ขนาดสูง 3.2 ซ.ม.
1.เนื้อทองคำ เนื้อนาค เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อเงิน เนื้อทอง 93 (1 ชุด 5 องค์) สร้าง 99 ชุด
2.เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 539 องค์
พิธิพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามกรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จเป็นประธานในพิธี.
ประวัติพระไพรีพินาศ
พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดย่อม มีขนาดหน้าพระเพลา๓๓ เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปแบบธยานิพุทธเจ้า ปางประทานพร สมัยศรีวิชัย แต่นักสังเกตบางคนสงสัยว่า “พระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย มีเพียงเกตุมาลา เป็นจอมคล้ายสมัยทราวดีเป็นพื้น” พระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อยังทรงผนวชอยู่ ราว พ.ศ.๒๓๙๑ ได้ถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ”
ซุ้มเก๋ง ด้านเหนือแห่งพระเจดีย์นั้น เป็นที่ประดิษฐานพระไพรีพินาศ ในการบูรณปฏิสังขรณ์ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗-๘ นี้ ทำประตูเหล็ก ๒ ชั้น ช่องหน้าต่างใส่เหล็กทั้งสองข้าง ฝาผนังปิดโมเสก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ปิดทองพระไพรีพินาศ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ด้วย
ในหนังสือตำนานวัดมีกล่าวว่า “พระไพรีพินาศ ใคร่ครวญตามพระนามน่าจะได้เชิญประดิษฐานไว้ในเก๋งน้อยที่สร้างใหม่ ณ ทักษิณชั้นบนแห่งพระเจดีย์ในครั้งนั้น เว้นไว้แต่จักได้ประดิษฐานไว้แล้วในครั้งยังทรงผนวชเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ ที่เป็นคราวสิ้นเสี้ยนศัตรู ครั้งแรก”
พระไพรีพินาศ ในสาสน์สมเด็จ
เล่ม ๒ หน้า ๘๕-๙๐-๑๑๖
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตั้งปัญหาถามกระหม่อมว่า พระไพรีพินาศนั้น เป็นพระอะไร มาแต่ไหน ทำไมจึงมาอยู่วัดบวรนิเวศ เหตุใดจึงชื่อว่า ไพรีพินาศ เกล้ากระหม่อมหงายท้อง ไม่สามารถตอบได้ อยากรู้เหมือนกัน เคยทูลถามฝ่าพระบาทก็ไม่ทรงทราบเหมือนกัน หันไปหันมาเห็นกรมหมื่นพงศา จึงลองเข้าจดทูลถามดู ตรัสบอกว่า ใครก็ทรงจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว เป็นผู้นำมาถวายทูลกระหม่อมเมื่อยังทรงผนวชอยู่ เป็นเวลาติดต่อกับที่หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษ จึงโปรดตั้งพระนามว่า "พระไพรีพินาศ”
พระไพรีพินาศเจีดย์ เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการบูรณะพระเจดีย์ใหญ่ได้เปิดองค์พระไพรีพินาศเจดีย์ดู พบกระดาษสีขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนว่า "พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ" อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า "เพระตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ"
คาถาบูชาพระไพรีพินาศ
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ สุจิรํ ปรินิพฺพุโต
คุเณหิ ธรมาโนทานิ ปารมีหิ จ ทิสฺสติ
ยาวชีวํ อหํ พุทธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คโต
ปูเชมิ รตนตฺตยํ ธมฺมํ จรามิ โสตฺถินา.
|
พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.๑๑๙๓ (วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๗๔) ในสมัยรัชกาลที่๓ และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่๔ องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ ๒ ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา ๔ ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก ๔ องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ
|
|
|
|
บนทักษิณชั้นที่ ๑ ประดิษฐานเทวรูป ๑ องค์ คือ ด้านทิศเหนือ พระพรหม พระวิสสุกรรม ด้านทิศใต้ พระนารายณ์ พระศิวะ ด้านทิศตะวันตก พระปัญจสิขะ พระประคนธรรพและมีเก๋งประจำทิศ
บนทักษิณชั้นที่ ๒ มีซุ้มปรางค์ประจำทิศ และนพลานทักษิณชั้นนี้ ด้านทิศเหนือ ประดิษฐานเก๋งพระไพรีพินาศ ด้านทิศตะวันออก มีซุ้มปรางค์ประดิษฐานพระบรมรูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คลิ้กที่จุด 360 เพื่อเลือกจุดชมภาพ Virtual Reality
Download โปรแกรม Java Virtural Machine
ถ้าไม่สามารถดูภาพเสมือนจริง คลิก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พระบรมรูปรัชกาลที่ ๔
|
หน้าพระเจดีย์ใหญ่
|
ซุ้มปรางค์มุมพระเจดีย์ใหญ่
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พระไพรีพินาศเจดีย์
|
พระไพรีพินาศ
|
พระเจดีย์กาไหล่ทอง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย คือ ม้า = พม่า, นก = โยนก, ช้าง = ล้านช้าง และสิงห์ = สิงคโปร์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เทวรูปประจำทิศ ๖ องค์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทางเข้าสู่คูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่
|
พระพรหม เทวรูปประจำทิศเหนือ
|
รูปตุ๊กตาจีนบริเวณพระเจดีย์ใหญ่
|
|

|

พระไพรีพินาศจำลอง ด้านหน้าพระเจดีย์พุทธศาสนิกชนทั่วไปสามารถจุดธูปเทียนไหว้พระได้ ณ จุดนี้
|

|
|
พระเจดีย์กาไหล่ทอง ฐานศิลาสลักเรื่องปฐมสมโพธิ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๖(จ.ศ.๑๒๐๖) ในรัชกาลที่๓ ประดิษฐานอยู่ภายในคูหาพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร
ฐานพระเจดีย์กาไหล่ทอง เป็นแท่นสี่เหลี่ยมประกอบศิลาสลักภาพพุทธประวัติ ปางประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ด้านละปาง มีอักษรจารึก พระวาจา พระอุทาน และพระพุทธวจนะ
พระไพรีพินาศเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการซ่อมแซมพระเจดีย์ใหญ่ได้เปิดองค์พระไพรีพินาศเจดีย์ดู พบกระดาษสีขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนไว้ว่า “พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่าพระไพรีพินาศเจดียเทิญ” อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า “เพราะตั้งแต่ทำแล้วมาคนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ”
พระเจดีย์กาไหล่ทอง ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ เป็นพระเจดีย์พระบรมราชานุสรณ์ พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในวันปุริมพรรษา วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐
เจดีย์โลหะปิดทอง ที่อยู่ด้านเหนือและเจดีย์ไม้ปิดทอง ที่อยู่ด้านตะวันออก ไม่ปรากฏประวัติ
พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร สมัยศรีวิชัย ประดิษฐานอยู่ที่เก๋งบนทักษิณ ชั้นสองของพระเจดีย์ใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงพระผนวชอยู่ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๙๑ พระองค์ได้ถวายพระนามว่า พระไพรีพินาศ
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ ซุ้มปรางค์บนทักษิณชั้นบนของพระเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก เป็นพระบรมรูปที่หล่อขึ้นใหม่ จำลองจากพระบรมรูปองค์เดิม ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ตำหนักเพ็ชร พระบรมรูปจำลององค์นี้ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตถนอม ดิศกุล ทรงให้กรมศิลปากรหล่อ และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ซุ้มปรางค์นี้ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘
รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย คือ ม้า = พม่า, นก = โยนก, ช้าง = ล้านช้าง และสิงห์ = สิงคโปร์
เทวรูปประจำทิศ ๖ องค์ ที่ทักษิณชั้นล่างของพระเจดีย์ใหญ่ ทิศเหนือ พระพรหม พระวิสสุกรรม,ทิศใต้ พระนารายณ์ พระศิวะ และทิศตะวันตก พระปัญจสิกขะ พระประคนธรรพ
|