รายละเอียด:
พระบูชาพุทธชินสีห์ สก. ขนาดหน้าตัก 3 นิ้ว วัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ. 2535 งามและหายากสุดๆ


ประวัติพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร
พระพุทธชินสีห์ แปลตามความหมายว่า พระผู้ชนะพระยาราชสีห์ หรือ พระผู้ชนะซึ่งงามสง่าประดุจพระยาราชสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา ได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก มาแต่ต้น ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อปี พ.ศ.2372
การสร้างพระพุทธรูปทั้ง 3 พระองค์ ของเมืองพิษณุโลกนั้น มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ.1500 พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้ จึงทรงสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า ‘เมืองพิษณุโลก’ ทำนองว่าเป็นเมืองอันพระวิษณุกรรมเสด็จลงมาสร้าง ครั้นสร้างพระนครเสร็จแล้ว มีพระราชศรัทธาสร้างวัดวาอาราม มี ‘วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ’ เป็นพระอารามหลวง แล้วทรงหล่อพระพุทธรูป 3 องค์ อันได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โปรดให้ประดิษฐาน ‘พระพุทธชินราช’ ณ พระวิหารใหญ่ ทิศตะวันตกของพระมหาธาตุ ประดิษฐาน ‘พระพุทธชินสีห์’ และ ‘พระศรีศาสดา’ ณ พระวิหารใหญ่ทิศตะวันออก ทางทิศเหนือองค์หนึ่ง ทิศใต้องค์หนึ่ง พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา จึงประดิษฐานอยู่ในวิหารเดียวกันตลอดมาถึง 900 กว่าปี จนกระทั่งมีการอัญเชิญลงมากรุงเทพฯ ทั้งสององค์ คือ พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา

‘วัดบวรนิเวศวิหาร’ เดิมชื่อว่า ‘วัดใหม่’ ตั้งอยู่ภายในพระนครติดถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ ริมกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ พื้นที่สร้างวัดนี้แต่เดิมคงเป็นที่ว่างอยู่ในอาณาเขตวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ (พุทธศักราช ๒๓๖๗-๒๓๗๕) กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา วัดใหม่ ขึ้นในบริเวณดังกล่าว ภายหลังจากการทำการศพเจ้าจอมมารดาน้อย ซึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาของพระองค์เจ้าหญิงดาราวดี พระชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายอรุโณทัย ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๒๘ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอลำดับที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ ธิดาพระยานคร(พัฒน์) เมื่อพระชนมายุ ๒๓ ชันษา ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงกรมเป็นกรมหมื่นศักดิพลเสพย์กำกับราชการ กลาโหม ครั้นถึงปีพุทธศักราช ๒๓๖๓ เมื่อคราวศึกพม่ายกทัพจะเข้าตีไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระบรมราชโองการให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่่นศักดิพลเสพย์พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็น แม่ทัพคุมพลไปตั้งรับที่หัวเมืองชายแดนฝั่งตะวันตก ด้วยเหตุที่พระองค์เคยร่วมบัญชาการศึกมาด้วยกันและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงอุปราชาภิเษกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นศักดิพลเสพย์เป็นสมเด็จพระบวร ราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังสถานมงคลตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๓๖๗-๒๓๗๕ ดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชอยู่ ๘ ปี ประชวรและสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๗๕ เมื่อยังดำรงพระชนม์ชีพ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ทรงสถาปนาวัดสำคัญ ๒ แห่งคือ ‘วัดบวรสถานสุทธาวาสหรือวัดพระแก้ววังหน้า’ สร้างขึ้นในเขตพระราชวังบวรสถานมงคลทางด้านทิศเหนือ เพื่อให้เป็นวัดประจำวังแบบเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งเป็นวัดตั้ง อยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง และวัดที่ทรงสถาปนาเพื่มขึ้นอีกแห่งคือ ‘วัดบวรนิเวศวิหารหรือวัดใหม่’ สร้างในพื้นที่บริเวณทิศเหนือของพระนครใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาสที่สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงสร้างตั้งแต่สมัยรัชการที่ ๒ โดยเริ่มดำเนินการสร้างภายหลังจากทำการศพเจ้าจอมมารดาน้อย พระชายาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในบริเวณพื้นที่ซึ่งกำหนดจะสร้างวัดบวรนิเวศวิหารขึ้นตรงนั้น การสถานปนาวัดเมื่อแรกเริ่มนั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ทรงสร้างพระอุโบสถขึ้นก่อน ลักษณะเป็นอาคารจตุรมุข ซึ่งมีมุขหน้ายาว มุขข้างและมุขหลังสั้น แต่ได้ผูกพัทธสีมาเฉพาะมุขหน้าเท่านั้น โดยได้อัญเชิญหลวงพ่อโต จากวัดสระตะพาน วังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทองปางมารวิชัย ศิลปะแบบอู่ทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ขนานนามว่า ‘พระสุวรรณเขต’
ในพิธีอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยพันโทหญิง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเป็นผู้บังคับกองทหารม้าเกียรติยศ ประกอบริ้วขบวนที่6 ประกอบด้วยขบวนกองทหารม้าเกียรติศ จำนวน 78 ม้า จากกองพันทหารม้าที่29 รักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพิธีดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่29 ตุลาคม 2560
ในการเชิญพระบรมราชสรีรางคาง จากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ไปบรรจุที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธชินสีห์ พระประธานพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร