รายละเอียด:
พระบูชานิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2537ขนาดหน้าตัก 4.5 นิ้ว สูงประมาณ 15 นิ้ว ปิดทองคำแท้ 2 ถอด หมายเลข 39 มีหมายเลขกำกับที่ฐานซุ้ม และที่ใต้ฐานองค์พระตรงกัน หายากสร้างน้อย 500 องค์เท่านั้น
พิธีมหาพุทธาภิเษก โดยเจ้าพระคุณสมเด็จสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร วัดบวรนิเวศ ทรงเป็นประธานในพิธีอธิฏฐานจิต พร้อมด้วยพระเกจิและวิปัสสนาจรย์ทั่วประเทศ
ที่ฐานเรือนซุ้มแก้วด้านบนโดยรอบนั้น จะสลักด้วยพระคุณ 9 ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอักษรขอมเป็นช่อง ๆ จำนวน 9 ช่อง คือ
ช่องที่ 1 อรหัง (แปลว่า เป็นพระอรหันต์)
ช่องที่ 2 สัมมาสัมพุทโธ (แปลว่า เตรัสรู้เองโดยชอบ)
ช่องที่ 3 วิชชาจรณสัมปันโน (แปลว่า ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ)
ช่องที่ 4 สุคโต (แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว)
ช่องที่ 5 โลกวิทู (แปลว่า เป็นผู้รู้แจ้งโลก)
ช่องที่ 6 อนุตตโร ปริสธัมมสารถิ (แปลว่า เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า)
ช่องที่ 7 สัตถาเทวมนุสสานัง (แปลว่า เป็นสาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
ช่องที่ 8 พุทโธ (แปลว่า เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว)
ช่องที่ 9 ภควา (แปลว่า เป็นผู้มีโชค)
ที่ฐานด้านหน้าขององค์พระนิรันตรายเป็นพระโค อันหมายถึงพระโคตรของพระพุทธองค์คือ ทรงพระนามตามพระโคตรว่า โคตมโคตร อันเป็นแบบที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชดำริให้จัดสร้างขึ้น




ประวัติพระนิรันตราย
ประพระนิรันตราย (องค์เดิม)
พระพุทธรูปศิลปะแบบทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ขนาดหน้า ตักกว้าง ๖ ซม. องค์พระสูง ๘.๒๐ ซม. วัสดุทองคำ ประทับนั่งแบบปรยัง กาสนะ ข้อพระบาทไขว้กันอย่างหลวมๆ แสดงธยานะมุทราโดยพระหัตถ์ขวา ช้อนเหนือพระหัตถ์ซ้าย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงเป็นเส้นติดต่อกัน ค ล้ายปีกกา พระเนตรเหลือบต่ํ า พระนาสิกป้าน พระโอษฐ์ค่อนข้างกว้าง พระกรรณยาวเกือบจรดพระอังสะ พระเศียรประกอบด้วยขมวดพระเกศา มีเกตุมาลาอยู่เบื้องบนปราศจากรัศมี องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์เรียบ ไม่มีริ้วห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ขอบอุตราสงค์พาดผ่านข้อพระกรซ้าย พระพุทธรูปประทับนั่งบนปัทมาสน์มีกลีบบัวคว่ำบัวหงายประกอบทั้ง เบื้องบนเบื้องล่าง ซึ่งฐานปัทมาสน์นี้ได้สร้างเพิ่มเติมในภายหลัง
พระนิรันตรายนี้ กำนันอิน แขวงเมืองราจีนบุรี และบุตรชาย เป็น ผู้ขุดค้นพบพระนิรันตราย และได้นำไปมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมาได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเห็นว่าสองคนพ่อลูกมีกตัญญู ต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน จึงทรงพระราชทานรางวัล เงินตรา ๘ ชั่ง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอัญเชิญ พระพุทธรูปทองคำนี้ไปรักษาไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร กับพระกริ่งทองคำ องค์น้อย
เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ มีผู้ร้ายลักพระกริ่งองค์น้อยที่ตั้งอยู่คู่กันไป จึงทรง พระราชดำริว่า พระพุทธรูปที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายมาก็เป็นทองคำ ทั้งแท่งใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่ผู้ร้ายจะลักพระพุทธรูปองค์นี้ไป แต่ก็แคล้วคลาด ถึง ๒ ครั้ง อีกทั้งผู้ที่ขุดค้นพบได้ก็ไม่ทำอันตรายเป็นที่อัศจรรย์อยู่ จึงทรง ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” อันมีความหมายว่า ปราศจากอันตราย
พระนิรันตราย (องค์ใหม่)
พระพุทธรูปศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ช่วงปี พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑.๖๕ ซม. องค์พระสูง ๒๐.๓๐ ซม. วัสดุทองคำ ประทับ นั่งวัชราสนะ แสดงธยานะมุทราโดยพระหัตถ์ขวาช้อนบนพระหัตถ์ซ้ายเหนือ พระเพลา มีพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนลาฏค่อนข้างแคบ พระขนงเป็น รูปปีกกา มีอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว พระกรรณคล้ายมนุษย์สามัญ พระเศียรประดับด้วย ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก ปราศจากเกตุมาลาโดยปรากฏรัศมีรูปเปลวไฟ เหนือพระเศียร องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์จีบเป็นริ้วเหมือนผ้าตามธรรมชาติห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา เหนือพระอังสาซ้ายมีสังฆาฏิขนาดใหญ่ พาดทับยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายตัดเป็นเส้นตรง อันตรวาสกมีลักษณะ คล้ายริ้วผ้าตามธรรมชาติเช่นเดียวกับอุตราสงค์ ซึ่งเป็นการครองผ้า อย่างธรรมยุติกนิกาย
พระพุทธรูปประทับนั่งบนปัทมาสน์อันประกอบด้วยกลีบบัวคว่ำและ กลีบบัวหงายเหนือฐานแข้งสิงห์ และฐานเขียงแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นที่สำหรับ รับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นรูปศีรษะโคอันแสดงเป็นที่หมายพระโคตร ซึ่งเป็น โคตมะอันเป็นแบบที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ ให้สร้างขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระนิรันตรายองค์นี้ด้วยทองคำตามพุทธลักษณะสวมพระพุทธรูป นิรันตราย องค์เดิมอีกชั้นหนึ่ง กับทั้งให้หล่อด้วยเงินไล่บริสุทธิ์เป็นคู่กัน อีกองค์หนึ่ง
ปัจจุบันพระนิรันตรายประดิษฐานอยู่ในหอพระสุลาลัยพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร และได้รับการอัญเชิญเข้าในงานพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีหล่อพระพุทธรูป และพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา