รายละเอียด:
พระบูชาพุทธชินสีห์ ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว รุ่นฉลองพระชันษา 96 ปี สมเด็จพระสังราช 8 รอบ เนื้อทองแดง องค์นี้ ยังอยู่ในถุงและกล่องเดิม ๆ ไม่มีรอยใด ๆ เพราะไม่เคยผ่านการใช้ครับ สร้างน้อย เพียงแค่ 199 องค์นั้น
(เช่าบูชาแล้ว)(เช่าบูชาแล้ว)(เช่าบูชาแล้ว)(เช่าบูชาแล้ว)
พระชินสีห์บูชา หน้าตัก ๙ นิ้ว รุ่นนี้ จัดสร้างในวาระพิเศษที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา ๘ รอบ ๙๖ ปี ในวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๒ เนื้อทองแดง โดยมีพระพรหมมุนี (ปัจจุบันเป็นสมเด็จพระวันรัต) เป็นประธานจัดสร้างพระกริ่งฉลองพระชนมายุ 96 พรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเทิดพระเกียรติ จัดพิธีเททองที่พระอุโบสถวัดบวร มีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นประธานเมื่อ 17 สิงหาคม 2552 และพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ในวันอังคารที่ 22 กันยายน 2552
จำนวนสร้างแค่ 199 องค์เท่านั้น
ประวัติการสร้างพระพุทธชินสีห์ ตำนานกล่าวว่า
เมื่อปี พ.ศ. ๑๕๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมหาราช
แห่งเมืองเชียงแสน เสด็จมาตีเมืองสองแควได้
แล้วสร้างเมืองสองแควขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า เมืองพิษณุโลก
จากนั้นได้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นพระอารามหลวง
อีกทั้ง ได้ทรงหล่อพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แก่
พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ ณ พระวิหารทิศเหนือ
และประดิษฐานพระศรีศาสดา ณ พระวิหารทิศใต้
พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา (พระศาสดา)
จึงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเดียวกันตลอดมาถึง ๙๐๐ กว่าปี
ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
พระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ชำรุดทรุดโทรมขาดผู้รักษาดูแล
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมายังกรุงเทพฯ
เพื่อมาประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ประทับของ
สมเด็จพระสังฆราชถึง ๔ พระองค์ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ครั้งทรงผนวช อีกหลายพระองค์ด้วย
“พระพุทธชินสีห์” จึงเป็นพระคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์
และสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มาช้านาน
พระพุทธชินสีห์นั้นเป็นพระพุทธรูปที่ชาวพิษณุโลกและชาวเมืองเหนือ
เคารพบูชาอย่างยิ่งองค์หนึ่ง ในคราวที่อัญเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมากรุงเทพฯ
ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ นั้น มีบันทึกที่กล่าวถึงความรู้สึกของชาวเมืองไว้ว่า
“..เมื่ออัญเชิญออกจากวิหารนั้น ราษฎรพากันมีความเศร้าโศกร้องไห้เป็นอันมาก
เงียบเหงาสงัดไปทั้งเมือง เหมือนศพลงเรือน แลแต่นั้นมาฝนก็แล้งไป ๓ ปี
ชาวเมืองพิษณุโลกได้ความยากยับไปเป็นอันมาก ตั้งแต่พระพุทธชินสีห์ลงมาถึง
กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพก็ทรงพระประชวรพระโรคมานน้ำ
ได้ปีเศษก็เสด็จสวรรคต ราษฎรพากันกล่าวว่า
เพราะเหตุที่ไปอัญเชิญพระพุทธชินสีห์อันเป็นสิริของเมืองพิษณุโลกลงมา..”
‘พระพุทธชินสีห์’ แต่เดิมประดิษฐานไว้ในมุขหลังของ
พระอุโบสถของวัดบวรนิเวศวิหารที่เป็นจตุรมุข
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยยังทรงผนวช
และทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาต
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
อัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
ออกสถิตหน้าพระสุวรรณเขตหรือพระโต พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ดังทุกวันนี้
พระพุทธชินสีห์ประทับบนแท่นหล่อสำริด สถิตสถาพรมั่นคง
ภายใต้ฉัตรตาล ๙ ชั้น ดูร่มเย็นเป็นสุข พระอุณาโลมฝังเพชร
มีเครื่องราชสักการะ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ถวายเป็นพุทธบูชา
เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ชาติไทย
เสด็จพระราชดำเนินมาถวายเครื่องราชสักการะสืบมายาวนาน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนับถือเลื่อมใสพระพุทธชินสีห์มาก
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๓ ได้โปรดให้ทำกาไหล่พระรัศมีองค์พระด้วยทองคำ
ฝังพระเนตรฝังเพชรใหม่ และตัดพระอุณาโลม แล้วปิดทองทั้งองค์พระ
ปี พ.ศ. ๒๓๙๗ ทรงให้หล่อฐานด้วยทองสำริด ปิดทองใหม่ทั้งองค์พระและฐาน แล้วให้มีการสมโภช ๕ วัน
ในวารดิถีอันเป็นมหามงคล 3 ตุลาคม 2552 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช จะทรงมีพระชนมายุครบ 8 รอบ และครบ 20 ปี ที่ทรงเป็นพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ โดยมีพระพรหมมุนี เป็นประธานจัดสร้างพระกริ่งฉลองพระชนมายุ 96 พรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเทิดพระเกียรติ จัดพิธีเททองที่พระอุโบสถวัดบวร มีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นประธานเมื่อ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา และจะทำพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ในวันอังคารที่ 22 กันยายน 2552
1 พระบูชาพระพุทธชินสีห์ หน้าตัก 9 นิ้ว 199 องค์
2 พระกริ่งเนื้อทองคำ 97 องค์
3 พระกริ่งเนื้อเงิน 500 องค์
4 พระกริ่งเนื้อนวโลหะ 2,599 องค์
5 ครอบน้ำพระพุทธมนต์ 199 ใบ