รายละเอียด:
เหรียญพระนเรศวรและไพรีพินาศ รุ่น 1 ในสยาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราทานแก่ทหาร งามมาก ๆ สภาพพระสวยไม่ผ่านการใช้งานครับ ....เป็นของดีที่ราคาไม่แพงยังมีให้เช่าบูชาอยู่....จำนวน 5 เหรียญ รับประกันความแท้ตลอดชีพ
---------------------------------------
เหรียญพระไพรีพินาศ รุ่นหนึ่งในสยาม หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปี ๒๕๑๙ ในหลวงทรงพระกรุณาให้จัดสร้าง และเสด็จในพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสารที่ ๙ เมษายน ๒๕๒๐ กรุงเทพมหานคร เป็นเหรียญโลหะผสมรมดำ ลักษณะเหรียญทำเป็นรูปไข่ สูง ๓.๗ เซนติเมตร กว้าง ๒.๔ เซนติเมตร จำนวนจัดสร้าง ๗,๐๐๐ เหรียญ
เหรียญพระไพรีพินาศ หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปี ๒๕๑๙ หรือ ในวงการพระเครื่องเรียกกันว่า "เหรียญหนึ่งในสยาม" เป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจ ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติ เหรียญนี้จึงไม่ได้มีการจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป ดังนั้นเหรียญนี้ จึงได้รับความสนใจในวงการพระเครื่องเป็นอย่างมาก
พิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศ และปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เหรียญ พระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างขึ้น เหรียญพระไพรีพินาศสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาดินแดน ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศชาติ ส่วนพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น สำหรับพระราชทานแก่หน่วยทหารเพื่อเป็นที่เคารพสักการะของทหาร ณ ฐานที่ตั้ง
ขนาดและลักษณะเหรียญพระไพรีพินาศ
เหรียญพระไพรีพินาศ มี ๓ แบบ คือ
แบบ ๑ เหรียญเงิน ลักษณะเหรียญทำเป็นรูปเสมา สูง ๓.๔ เซนติเมตร กว้าง ๒.๑ เซนติเมตร จำนวนเหรียญที่สร้าง ๑๐๐ เหรียญ
แบบ ๒ เหรียญโลหะผสมรมดำ ลักษณะเหรียญทำเป็นรูปเสมาเหมือนกับเหรียญเงิน สูง ๓.๔ เซนติเมตร กว้าง ๒.๑ เซนติเมตร จำนวนเหรียญที่สร้าง ๑ ล้านเหรียญ
แบบ ๓ เหรียญโลหะผสมรมดำ ลักษณะเหรียญทำเป็นรูปไข่ สูง ๓.๗ เซนติเมตร กว้าง ๒.๔ เซนติเมตร จำนวนเหรียญที่สร้าง ๗,๐๐๐ เหรียญ
เหรียญ ทั้ง ๓ แบบนี้ ด้านหน้าตรงกลางเหรียญมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในเรือนแก้ว ข้างขวาของซุ้มเรือนแก้วมีข้อความว่า ?อิ สฺวา สุ? ข้างซ้ายของซุ้มเรือนแก้วมีข้อความว่า ?อ อุ ม? ใต้ซุ้มเรือนแก้วมีข้อความว่า ?พระไพรีพินาศ พ.ศ. ๒๕๑๙? ด้านหลังตรงกลางเหรียญมีพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับบนพระแท่น พระหัตถ์ขวาทรงถือพระสุวรรณภิงคารทรงหลั่งทักษิโณทกประกาศอิสรภาพ พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระแสงดาบพาดไว้บนพระเพลา ล้อมรอบด้วยข้อความว่า ?ไทยต้องเป็นไท ? สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ? สู้เพื่อชาติไทย?
เหรียญพระไพรีพินาศนี้ นางสาวไข่มุกต์ ชูโต เป็นผู้ออกแบบ และนายจินตรัตน์ พนมวัน ณ อยุธยา เป็นผู้พิมพ์แบบ
เมื่อ สร้างเหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสร็จเรียบร้อย แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศและปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสารที่ ๙ เมษายน ๒๕๒๐ รายละเอียดพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศและพิธีปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช มีดังนี้
การตั้งแต่งสถานที่
ในพระอุโบสถ ที่หน้าฐานชุกชีพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร บนธรรมสน์ศิลาตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประจำรัชกาลสมเด็จพระ นเรศวรมหาราช พระชัยนวโลหะ รัชกาลที่ ๔ และพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ มีขันพระสาครใส่น้ำลอยดอกบัว ๙ ดอก กลางขันพระสาครตั้งเชิงเทียนสำหรับปักเทียนพุทธมหามงคล๑ ข้างขันพระสาครด้านขวาตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลปิดทอง๒ ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านซ้ายตั้งเชิงเทียนปักเทียนพระมหามงคลปิดเงิน๓ ประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ประดับด้วยแจกันดอกไม้ หน้าธรรมาสน์ศิลาตั้งโต๊ะทองสำหรับตั้งเชิงเทียนนวหรคุณ ๙ เล่ม และทอดเครื่องนมัสการทองใหญ่สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เครื่องนมัสการทองทิศสำหรับสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
กลาง พระอุโบสถตั้งแท่นสองชั้นปูผ้าขาว ชั้นบนประดิษฐานเหรียญพระไพรีพินาศ ชั้นล่างประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แวดล้อมด้วยราชวัตรฉัตรธง
ด้าน หน้าของที่ประดิษฐานเหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งตู้เทียนชัย ขันพระสาครบรรจุน้ำลอยดอกบัวขันละ ๙ ดอก ขันพระสาครทางซ้ายและขวาปักเทียนมงคลพุทธาภิเษก ขันพระสาครตรงกลางสำหรับบัณฑิตปักเทียนบูชา ๑๐๘ พระคาถา
รอบแท่นที่ ประดิษฐานเหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอาสนสงฆ์ล้อมรอบ ๘ ทิศ สำหรับพระสงฆ์สวดบริกรรมคาถาปลุกเสก มีสมเด็จพระญาณสังวรเป็นประธานนั่งภาวนาบริกรรมที่แท่นทองหน้าตู้เทียนชัย และตั้งอาสนสงฆ์ด้านเหนือในพระอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ ๑๕ รูป เจริญคาถาจุดเทียนชัย ตั้งเตียงสำหรับพระสวดภาณวารติดกับผนังด้านหน้าของพระอุโบสถ วงสายสิญจน์ทั่วไป
ส่วนนอกพระอุโบสถภายในกำแพงแก้ว หน้าพระอุโบสถด้านทิศเหนือยกพื้นเป็นแท่นตั้งโต๊ะทองวางเครื่องบวงสรวง สังเวยและมีศาลสำหรับโหรบูชาพระฤกษ์
พิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศ และปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ก่อน เวลาพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา ไปยังพระบรมมหาราชวัง เข้าประตูวิเศษไชยศรี รถยนต์พระที่นั่งเทียบที่ประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เวลา ๑๔ นาฬิกา ๓๐ นาที เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปทรงจุดธูปเทียนท้ายที่นั่งบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสร็จแล้ว เสด็จ ฯ ไปที่หน้าธรรมาสน์ศิลา ทรงจุดไฟจากโคมไฟฟ้า แล้วทรงจุดเทียนพุทธมหามงคล เทียนมหามงคลทองและเทียนมหามงคลเงิน ซึ่งตั้งอยู่บนธรรมาสน์ศิลา
ต่อ จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการที่หน้าธรรมาสน์ศิลาบูชาพระพุทธรูปปางประจำ รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๔ และพระชัยนวโลหะรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระสังฆราชถวายศีล ทรงศิลจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปที่มณฑลประดิษฐานเหรียญพระไพรีพินาศ และปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระสุหร่าย ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา เสด็จฯ ออกหน้าพระอุโบสถไปยังแท่นที่ตั้งโต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวยสมเด็จพระนเรศวร มหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จขึ้นไปบนแท่นที่ตั้งโต๊ะเครื่องสังเวย เสด็จขึ้นไปบนแท่นที่ตั้งโต๊ะเครื่องสังเวย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนทองเทียนเงินที่โต๊ะเครื่องสังเวย แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวยคาวหวาน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา เสด็จ ฯ ประทับพระราชอาสน์ที่ชานหน้าพระอุโบสถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชครูวามเทพมุนี ฯ ๔ อ่านประกาศบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จบแล้ว เสด็จ ฯ เข้าสู่พระอุโบสถ ประทับพระราชอาสน์ ประสงฆ์ ๑๐ รูป ๕ เจริญพระพุทธมนต์
ได้เวลามงคลฤกษ์ ๑๕ นาฬิกา ๔ นาที ถึงเวลา ๑๕ นาฬิกา ๓๔ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปที่หน้าตู้เทียนชัย ทรงรับเทียนชนวนจากเจ้าพิธีพนักงานพิธี ทรงจุดไฟจากโคมไฟฟ้าแล้วถวายสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดเทียนชัย ขณะนั้นโหรลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ชาวพนักงานประโคมแตร ไกวบัณเฑาะว์ และดุริยางค์ พระสงฆ์เจริญคาถาจุดเทียนชัย เมื่อพระสงฆ์เจริญคาถาจุดเทียนชัยจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จ ฯ ไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม ถวายสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะที่อาสนสงฆ์ พระคณาจารย์ที่จะนั่งบริกรรมปลุกเสก๖ และพระสวดภาณวาร๗ เดินเข้าไปรับพระราชทาน หมดจำนวนพระสงฆ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับพระราชอาสน์
เมื่อพระคณาจารย์ที่จะ นั่งปรกภาวนาคาถาปลุกเสกขึ้นไปนั่งบนอาสนสงฆ์ในมณฑลพิธีพร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก จบแล้ว พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ลงจากอาสนสงฆ์ ออกจากพระอุโบสถ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ ฯ ไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนมงคลพุทธาภิเษก๘ ที่ขันพระสาครข้างตู้เทียนชัย แล้วเสด็จ ฯ ไปทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชาธรรมที่หน้าเตียงพระสวดภาณวารเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินกลับ
สมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธานพร้อมด้วยพระคณาจารย์นั่งภาวนาปลุกเสกและพระพิธีกรรมสวดภาณวาร เสร็จเมื่อเวลาประมาณ ๒๓ นาฬิกา แล้วสมเด็จพระญาณสังวรทำพิธีดับเทียนชัย เป็นเสร็จพิธี
๑. ขี้ผึ้งหนัก ๓๒ บาท ใส้ ๔๙ เส้น (เท่าพระชนมายุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ความสูงของเทียนวัดจากรอบพระเศียรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๒. ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท ใส้ ๔๙ เส้น (เท่าพระชนมายุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ความสูงของเทียนวัดจากรอบพระเศียรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๓. ขี้ผึ้งหนัก ๘ บาท ใส้ ๔๔ เส้น (เท่าพระชนมายุสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ) ความสูงของเทียนวัดจากรอบพระเศียรสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ
๔. พระราชครูวามเทพมุนี รามเวทีศรีไสยศาสตร์ อนุษฏภวาทโกศล (สมจิตร สังสิพราหมณกุล)
๕. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์คาถาจุดเทียนชัย ๑๐ รูป คือ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ ป.ธ.๔) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ ป.ธ.๙) วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระวันรัต (ทรัพย์ ป.ธ.๗) วัดสังเวศวิศยาราม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ป.ธ.๙) วัดสามพระยา
พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ป.ธ.๗) วัดไตรมิตรวิทยาราม
พระพุทธิวงศมุนี (สุวรรณ ป.ธ.๗) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
พระพรหมคุณาภรณ์ (เกี่ยว ป.ธ.๙) วัดสระเกศ
พระธรรมปิฎก (นิยม ป.ธ.๙) วัดชนะสงคราม
พระราชมนต์มุนี (ทองคำ ป.ธ.๕) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
พระสังวรกิจโกศล (บุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม
๖. รายนามพระคณาจารย์ที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก ๑๕ รูป คือ
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ ป.ธ.๙) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ ฯ
พระราชธรรมวิจารย์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน กรุงเทพ ฯ
พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ ฯ
พระรัตตากรวิสุทธิ์ (ดุลย์) วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
พระราชพุทธิรังษี (คำ) วัดหนองจิก จังหวัดปัตตานี
พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ ฯ
พระครูถาวรวิทยาคม (เพิ่ม) วัดสรรเพ็ชญ์ จังหวัดนครปฐม
พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
พระครูเมธีสาครเขต (ชื่น ป.ธ.๖) วัดตึกมหาชยาราม จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด) วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูสุตตาธิการี (ทองอยู่) วัดหนองพะอง จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูธรรมกิจโกศล (นอง) วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี
พระครูสุจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม จังหวัดสิงห์บุรี
พระครูสังวรธรรมานุวัตร (พล) วัดหนองคณฑี จังหวัดสระบุรี
๗. พระสวดภาณวาร เป็นพระครูสัญญาบัตร พระครูฐานานุกรม พระเปรียญ จากวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ๔ รูป
๘. ขี้ผึ้งหนัก ๓๒ บาท ใส้ ๔๙ เส้น (เท่าพระชนมายุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ความสูงของเทียนวัดจากรอบพระเศียรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
|
พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.๑๑๙๓ (วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๗๔) ในสมัยรัชกาลที่๓ และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่๔ องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีทักษิณ ๒ ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา ๔ ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก ๔ องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ
|
|
|
|
บนทักษิณชั้นที่ ๑ ประดิษฐานเทวรูป ๑ องค์ คือ ด้านทิศเหนือ พระพรหม พระวิสสุกรรม ด้านทิศใต้ พระนารายณ์ พระศิวะ ด้านทิศตะวันตก พระปัญจสิขะ พระประคนธรรพและมีเก๋งประจำทิศ
บนทักษิณชั้นที่ ๒ มีซุ้มปรางค์ประจำทิศ และนพลานทักษิณชั้นนี้ ด้านทิศเหนือ ประดิษฐานเก๋งพระไพรีพินาศ ด้านทิศตะวันออก มีซุ้มปรางค์ประดิษฐานพระบรมรูปปั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คลิ้กที่จุด 360 เพื่อเลือกจุดชมภาพ Virtual Reality
Download โปรแกรม Java Virtural Machine
ถ้าไม่สามารถดูภาพเสมือนจริง คลิก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พระบรมรูปรัชกาลที่ ๔
|
หน้าพระเจดีย์ใหญ่
|
ซุ้มปรางค์มุมพระเจดีย์ใหญ่
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พระไพรีพินาศเจดีย์
|
พระไพรีพินาศ
|
พระเจดีย์กาไหล่ทอง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย คือ ม้า = พม่า, นก = โยนก, ช้าง = ล้านช้าง และสิงห์ = สิงคโปร์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เทวรูปประจำทิศ ๖ องค์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทางเข้าสู่คูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่
|
พระพรหม เทวรูปประจำทิศเหนือ
|
รูปตุ๊กตาจีนบริเวณพระเจดีย์ใหญ่
|
|

|

พระไพรีพินาศจำลอง ด้านหน้าพระเจดีย์พุทธศาสนิกชนทั่วไปสามารถจุดธูปเทียนไหว้พระได้ ณ จุดนี้
|

|
|
พระเจดีย์กาไหล่ทอง ฐานศิลาสลักเรื่องปฐมสมโพธิ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๖(จ.ศ.๑๒๐๖) ในรัชกาลที่๓ ประดิษฐานอยู่ภายในคูหาพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร
ฐานพระเจดีย์กาไหล่ทอง เป็นแท่นสี่เหลี่ยมประกอบศิลาสลักภาพพุทธประวัติ ปางประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ด้านละปาง มีอักษรจารึก พระวาจา พระอุทาน และพระพุทธวจนะ
พระไพรีพินาศเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น บรรจุพระพุทธวจนะ ประดิษฐานอยู่ในคูหาภายในพระเจดีย์ใหญ่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ระหว่างการซ่อมแซมพระเจดีย์ใหญ่ได้เปิดองค์พระไพรีพินาศเจดีย์ดู พบกระดาษสีขาว มีตราแดง ๒ ดวง มีอักษรเขียนไว้ว่า “พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่าพระไพรีพินาศเจดียเทิญ” อีกหน้าหนึ่งเขียนว่า “เพราะตั้งแต่ทำแล้วมาคนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ”
พระเจดีย์กาไหล่ทอง ประดิษฐานอยู่ด้านทิศใต้ เป็นพระเจดีย์พระบรมราชานุสรณ์ พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในวันปุริมพรรษา วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๐
เจดีย์โลหะปิดทอง ที่อยู่ด้านเหนือและเจดีย์ไม้ปิดทอง ที่อยู่ด้านตะวันออก ไม่ปรากฏประวัติ
พระไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร สมัยศรีวิชัย ประดิษฐานอยู่ที่เก๋งบนทักษิณ ชั้นสองของพระเจดีย์ใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ มีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงพระผนวชอยู่ประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๙๑ พระองค์ได้ถวายพระนามว่า พระไพรีพินาศ
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ ซุ้มปรางค์บนทักษิณชั้นบนของพระเจดีย์ ด้านทิศตะวันออก เป็นพระบรมรูปที่หล่อขึ้นใหม่ จำลองจากพระบรมรูปองค์เดิม ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ตำหนักเพ็ชร พระบรมรูปจำลององค์นี้ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตถนอม ดิศกุล ทรงให้กรมศิลปากรหล่อ และอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ซุ้มปรางค์นี้ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘
รูปสัตว์ เหนือซุ้มประจำทิศของพระเจดีย์ใหญ่ หมายถึง ดินแดนรอบราชอาณาจักรไทย คือ ม้า = พม่า, นก = โยนก, ช้าง = ล้านช้าง และสิงห์ = สิงคโปร์
เทวรูปประจำทิศ ๖ องค์ ที่ทักษิณชั้นล่างของพระเจดีย์ใหญ่ ทิศเหนือ พระพรหม พระวิสสุกรรม,ทิศใต้ พระนารายณ์ พระศิวะ และทิศตะวันตก พระปัญจสิกขะ พระประคนธรรพ
|