รายละเอียด:
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณสูงสุดกับการได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ ประดิษฐานพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร.
บนผ้าทิพย์ องค์ "พระพุทธชิราช" (จำลอง) พร้อมทั้งนำ ผงจิตรลดา และพระเบญจภาคี มาร่วมใช้ในการจัดสร้าง
ดำเนินการจัดสร้างโดย มูลนิธีวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม
มกุฏราชกุมาร แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างรูปหล่อลอยองค์
และเหรียญ "พระพุทธชินราช " (จำลอง)
ตลอดจนให้อัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ประดิษฐานบนผ้าทิพย์
และด้านหลังเหรียญ พร้อมทั้งนำผงจิตรลดาที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้กับ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลร่วมใช้ในการจัดสร้างด้วย
ประกอบพิธีมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
และพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (จังหวัดพิษณุโลก)
ในเดือนธันวาคม 2548
|
|
|
ด้วยสำนึกพระมหากรุณา
จึงอัญเชิญพระพุทธชินราชคู่เขตคาม
เนื้อผงจิตรลดาทรงศักดิ์สิทธิ์
เลิศล้ำพระพุทธบูชาบารมี |
องค์รามาผ่านฟ้าชาวสยาม
ประดิษฐานด้วยพระนาม "ภ.ป.ร."
ยอดยิ่งแห่งอิทธิฤทธิ์เสริมราศี
โอกาสครบรอยแปดสิบสี่ปีแพทยสมาคม |
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงอุตสาหะงานหนักเพื่อ
พสกนิกรชาวไทยเสมอมา และเพื่อเป็นการตอบแทนคุณแผ่นดินไทยอันเป็นแผ่นดินเกิด
มูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
ร่วมกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งจะมีอายุครบ 7 รอบในปี 2548
และคณะแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย อันเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดและให้บริการ
ประชาชนมานานกว่า 100 ปี จึงร่วมกันจัดทำโครงการ "เพราะแผ่นดินนี้ คือ แผ่นดินเกิด"
โดยจัดสร้างรูปหล่อลอยองค์ และเหรียญ"พระพุทธชินราช" (จำลอง) ประดิษฐานพระปรมาภิไธย "ภ.ป.ร."
บนผ้าทิพย์ ด้านหลังเหรียญและพระผง องค์ "พระพุทธชินราช" (จำลอง) เพื่อหารายได้ทูลเกล้าฯ
ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์
ตลอดจนเพื่อใช้พัฒนาการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทย ตามวัตถุประสงค์ของ
มูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัยฯ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
|

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดสร้างฯ ครั้งนี้ อันได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆัง
ซึ่งได้รับสมญานามว่าเป็น "ราชาแห่งพระเครื่อง" พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
พระกำแพงซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร พระรอดแห่งวัดมหาวัน จ.ลำพูน และพระผงสุพรรณ
แห่งวัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี จึงนับได้ว่าการจัดสร้าง "พระพุทธชิราช" (จำลอง)
ในครั้งนี้ มีความพิเศษยิ่งกว่าครั้งใดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นการรวมสุดยอดสิ่งอันเป็น
มงคลและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของไทย ได้แก่ "ผงจิตรลดา" และ "พระเบญจภาคี" เข้าไว้ด้วยกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พระผงชินราช" ที่จัดสร้างในครั้งนี้ มีลักษณะงดงามเป็นพิเศษด้วยการ
จัดสร้างอย่างพิถีพิถัน ทั้งจากความวิจิตรปราณีตในการแกะสลักองค์ "พระพุทธชินราช" (จำลอง)
ในลักษณะนูนสูง รวมถึงการบรรจงปัดทองลงบนองค์พระฯ จนเหลืองอร่ามทั้งองค์
ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. งดงามล้ำค่าในลักษณะงานจิวเวลรี่ 3 รูปแบบ
คือ แบบทองคำแท้ แบบเงิน และแบบทองแดง
(หมายเหตุ: พระผงชินราชแบบทองคำแท้ และแบบเงิน มีหมายเลขกำกับทุกองค์)
|