รายละเอียด:
พระกริ่งนิรันตราย เนื้อสัมฤทธิ์ มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจ จัดสร้าง สมเด็จพระเทพฯ ทรงเททอง พิธีพุทธาภิเษกโดยคณาจารย์ ทั่วประเทศ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เนื้อสัมฤทธิ์ สร้าง 254,000 องค์ องค์นี้ No.129553
พระมหาเถราจารย์ 255 รูป จากทั่วประเทศไทย ร่วมพิธีฯ โดยนั่งปรกรอบๆ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นสุดยอดพิธีแห่งปีที่มีพระเกจิมานั่งปลุกเสกเยอะมามากที่สุด เป็นประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อความเข้มขลังของพระรุ่นนี้
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอเชิญร่วมบูชาพระนิรันตราย (จำลอง) เพื่อบริจาคสมทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ มอบให้แก่อาคารบริการทางการแพทย์ 20 ชั้น โรงพยาบาลตำรวจ
จากประวัติ "พระนิรันตราย" เป็นพระที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง เช่นเดียวกับพระราชทานกำเนิด "ตำรวจสมัยใหม่" ในรัชสมัยของพระองค์ เพื่อปรับปรุงกิจการตำรวจให้ทันสมัยเทียบเท่านานาประเทศตะวันตก
การจัดสร้าง พระนิรันตราย (จำลอง) ครั้งนี้ เพื่อให้เป็นพระประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการจัดสร้าง
ศุกร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕
จัดพิธีบวงสรวงหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๔ โดยมี พล.ต.อ.เภา สารสิน ในฐานะประธานมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี ร่วมขอพรให้การจัดสร้างบรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
พุธที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๗.๐๐ น.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน ในพิธีเททองหล่อพระนิรันตราย (จำลอง) ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในการนี้ได้ทรงเททองหล่อพระนิรันตรายทั้ง ๓ แบบ ได้แก่ พระบูชานิรันตรายหน้าตัก ๑๙ นิ้ว พระบูชานิรันตรายหน้าตัก ๙ นิ้ว และพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) เนื้อโลหะขนาดคล้องคอ (เนื้อทองคำ, นวโลหะ, สัมฤทธิ์)
พระนิรันตรายรุ่นนี้ถือว่าวาระดี พิธียิ่งใหญ่และคณะผู้สร้างได้นำแผ่นชนวนศักดิ์สิทธิ์ ไปให้หัวหน้าพราหมณ์ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ จารอักขระเลขมงคลต่าง ๆ
ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมตั้งสัตยาธิษฐานถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งรวบรวมวัตถุมงคล มวลสารศักดิ์สิทธิ์ แผ่นจารโลหะพระเกจิคณาจารย์ต่าง ๆ มากมาย เป็นประวัติการณ์มาหลอมรวมหล่อพระนิรันตรายรุ่นนี้อีกด้วย
พิธีมหาพุทธาภิเษกในวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
พระมหาเถราจารย์ 255 รูป จากทั่วประเทศไทย ร่วมพิธีฯ โดยนั่งปรกรอบๆ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นสุดยอดพิธีแห่งปีที่มีพระเกจิมานั่งปลุกเสกเยอะมามากที่สุด เป็นประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อความเข้มขลังของพระรุ่นนี้
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอเชิญร่วมบูชาพระนิรันตราย (จำลอง) เพื่อบริจาคสมทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ มอบให้แก่อาคารบริการทางการแพทย์ 20 ชั้น โรงพยาบาลตำรวจ
จากประวัติ "พระนิรันตราย" เป็นพระที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง เช่นเดียวกับพระราชทานกำเนิด "ตำรวจสมัยใหม่" ในรัชสมัยของพระองค์ เพื่อปรับปรุงกิจการตำรวจให้ทันสมัยเทียบเท่านานาประเทศตะวันตก
การจัดสร้าง พระนิรันตราย (จำลอง) ครั้งนี้ เพื่อให้เป็นพระประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการจัดสร้าง
ศุกร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕
จัดพิธีบวงสรวงหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๔ โดยมี พล.ต.อ.เภา สารสิน ในฐานะประธานมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี ร่วมขอพรให้การจัดสร้างบรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
พุธที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๗.๐๐ น.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน ในพิธีเททองหล่อพระนิรันตราย (จำลอง) ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในการนี้ได้ทรงเททองหล่อพระนิรันตรายทั้ง ๓ แบบ ได้แก่ พระบูชานิรันตรายหน้าตัก ๑๙ นิ้ว พระบูชานิรันตรายหน้าตัก ๙ นิ้ว และพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) เนื้อโลหะขนาดคล้องคอ (เนื้อทองคำ, นวโลหะ, สัมฤทธิ์)
พระนิรันตรายรุ่นนี้ถือว่าวาระดี พิธียิ่งใหญ่และคณะผู้สร้างได้นำแผ่นชนวนศักดิ์สิทธิ์ ไปให้หัวหน้าพราหมณ์ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ จารอักขระเลขมงคลต่าง ๆ
ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมตั้งสัตยาธิษฐานถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งรวบรวมวัตถุมงคล มวลสารศักดิ์สิทธิ์ แผ่นจารโลหะพระเกจิคณาจารย์ต่าง ๆ มากมาย เป็นประวัติการณ์มาหลอมรวมหล่อพระนิรันตรายรุ่นนี้อีกด้วย
พิธีมหาพุทธาภิเษกในวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
อนวโลหะเต็มสูตร( พิมพ์นิยม ) เลขต้น ๆ อุดผงจิตรดาและเส้นเกศาสมเด็จพระสังฆราช ฯ สภาพสว ย สร้างน้อย หายาก
ประวัติพระนิรันตราย
พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ มีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2399 ตามประวัติกล่าวไว้ว่า กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ท่านฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยังเดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง ท่านจึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรจึงได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดฯ ว่า...สองพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลาย หรือซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วยังมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย….จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานเงินตราให้เป็นรางวัล และโปรดให้เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตคู่กับพระกริ่งทองคำน้อย
ในปี พ.ศ.2403 มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริต ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป เป็นที่น่าแปลกใจที่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า...พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง...พระองค์จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย"
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อ พระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดฯ ให้หล่อเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่งไว้คู่กัน
เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกันเป็นเนื้อทองเหลือง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ จำนวน 18 องค์เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างทำการกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุติตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก หลังจากนั้น พระองค์ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละองค์ในเวลาต่อมา