รายละเอียด:
พระกริ่งนิรันตราย เนื้อนวะ พุทธาภิเษก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ๒๕๕๔ สมเด็จพระเทพฯ ทรงเททอง ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.๒๕๕๔ พระเกจิคณาจารย์ทั่วไป ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก จำนวนจัดสร้าง ๒๕,๕๔๐ องค์ ราคาตอนจอง คือ ๙,๙๙๙ บาท ครับ
หากคิดจะหาพระมาห้อยบูชาประจำตัวซักองค์ ก็ขอแนะนำรุ่นนี้ พระดี พิธียิ่งใหญ่ เจ้านายเสด็จฯ พระเกจิคณาจารย์ จำนวน ๒๕๔ รูป ร่วมปลุกเสก ครับ
พระนิรันตราย แปลว่า ไม่มีอันตราย แคล้ว คลาด ปลอดภัย สำหรับผู้บูชา ครับ....
พระมหาเถราจารย์ 255 รูป จากทั่วประเทศไทย ร่วมพิธีฯ โดยนั่งปรกรอบๆ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นสุดยอดพิธีแห่งปีที่มีพระเกจิมานั่งปลุกเสกเยอะมามากที่สุด เป็นประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อความเข้มขลังของพระรุ่นนี้
การจัดสร้าง
1.พระนิรันตราย เนื้อทองเหลือง (ปิดทอง) หน้าตัก กว้าง 9นิ้ว จัดสร้าง 2,554องค์ ราคาบูชาองค์ละ 99,999บาท
2.พระนิรันตราย เนื้อทองเหลือง (รมดำ) หน้าตัก กว้าง 9นิ้ว จัดสร้าง 2,554องค์ ราคาบูชาองค์ละ 39,999บาท
3.พระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) *พระกริ่งนิรันตราย เนื้อทองคำ หน้าตัก 1.8ซม.สูง 3.5ซม. จัดสร้าง 2,554องค์ ราคาบูชาองค์ละ 99,999บาท
4.พระกริ่งนิรันตราย เนื้อนวโลหะ หน้าตัก 1.8ซม.สูง 3.5ซม. จัดสร้าง 25,540องค์ ราคาบูชาองค์ละ 9,999บาท
5.พระกริ่งนิรันตราย เนื้อสัมฤทธิ์ หน้าตัก 1.8 ซม.สูง 3.5 ซม. จัดสร้าง 25,540 องค์ ราคาบูชาองค์ละ 999 บาท
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอเชิญร่วมบูชาพระนิรันตราย (จำลอง) เพื่อบริจาคสมทบทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ มอบให้แก่อาคารบริการทางการแพทย์ 20 ชั้น โรงพยาบาลตำรวจ
จากประวัติ "พระนิรันตราย" เป็นพระที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง เช่นเดียวกับพระราชทานกำเนิด "ตำรวจสมัยใหม่" ในรัชสมัยของพระองค์ เพื่อปรับปรุงกิจการตำรวจให้ทันสมัยเทียบเท่านานาประเทศตะวันตก
การจัดสร้าง พระนิรันตราย (จำลอง) ครั้งนี้ เพื่อให้เป็นพระประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการจัดสร้าง
ศุกร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕
จัดพิธีบวงสรวงหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๔ โดยมี พล.ต.อ.เภา สารสิน ในฐานะประธานมูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี ร่วมขอพรให้การจัดสร้างบรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
พุธที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๗.๐๐ น.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน ในพิธีเททองหล่อพระนิรันตราย (จำลอง) ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ในการนี้ได้ทรงเททองหล่อพระนิรันตรายทั้ง ๓ แบบ ได้แก่ พระบูชานิรันตรายหน้าตัก ๑๙ นิ้ว พระบูชานิรันตรายหน้าตัก ๙ นิ้ว และพระกริ่งนิรันตราย (จำลอง) เนื้อโลหะขนาดคล้องคอ (เนื้อทองคำ, นวโลหะ, สัมฤทธิ์)
พระนิรันตรายรุ่นนี้ถือว่าวาระดี พิธียิ่งใหญ่และคณะผู้สร้างได้นำแผ่นชนวนศักดิ์สิทธิ์ ไปให้หัวหน้าพราหมณ์ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ จารอักขระเลขมงคลต่าง ๆ
ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจิมตั้งสัตยาธิษฐานถวายเป็นพุทธบูชา อีกทั้งรวบรวมวัตถุมงคล มวลสารศักดิ์สิทธิ์ แผ่นจารโลหะพระเกจิคณาจารย์ต่าง ๆ มากมาย เป็นประวัติการณ์มาหลอมรวมหล่อพระนิรันตรายรุ่นนี้อีกด้วย
พิธีมหาพุทธาภิเษกในวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๕ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

พระนิรันตราย (องค์เดิม)
พระพุทธรูปศิลปะแบบทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ ขนาดหน้า ตักกว้าง ๖ ซม. องค์พระสูง ๘.๒๐ ซม. วัสดุทองคำ ประทับนั่งแบบปรยัง กาสนะ ข้อพระบาทไขว้กันอย่างหลวมๆ แสดงธยานะมุทราโดยพระหัตถ์ขวา ช้อนเหนือพระหัตถ์ซ้าย พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงเป็นเส้นติดต่อกัน ค ล้ายปีกกา พระเนตรเหลือบต่ํ า พระนาสิกป้าน พระโอษฐ์ค่อนข้างกว้าง พระกรรณยาวเกือบจรดพระอังสะ พระเศียรประกอบด้วยขมวดพระเกศา มีเกตุมาลาอยู่เบื้องบนปราศจากรัศมี องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์เรียบ ไม่มีริ้วห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ขอบอุตราสงค์พาดผ่านข้อพระกรซ้าย พระพุทธรูปประทับนั่งบนปัทมาสน์มีกลีบบัวคว่ำบัวหงายประกอบทั้ง เบื้องบนเบื้องล่าง ซึ่งฐานปัทมาสน์นี้ได้สร้างเพิ่มเติมในภายหลัง
พระนิรันตรายนี้ กำนันอิน แขวงเมืองปราจีนบุรี และบุตรชาย เป็น ผู้ขุดค้นพบพระนิรันตราย และได้นำไปมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมาได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเห็นว่าสองคนพ่อลูกมีกตัญญู ต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน จึงทรงพระราชทานรางวัล เงินตรา ๘ ชั่ง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอัญเชิญ พระพุทธรูปทองคำนี้ไปรักษาไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร กับพระกริ่งทองคำ องค์น้อย
เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ มีผู้ร้ายลักพระกริ่งองค์น้อยที่ตั้งอยู่คู่กันไป จึงทรง พระราชดำริว่า พระพุทธรูปที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายมาก็เป็นทองคำ ทั้งแท่งใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่ผู้ร้ายจะลักพระพุทธรูปองค์นี้ไป แต่ก็แคล้วคลาด ถึง ๒ ครั้ง อีกทั้งผู้ที่ขุดค้นพบได้ก็ไม่ทำอันตรายเป็นที่อัศจรรย์อยู่ จึงทรง ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” อันมีความหมายว่า ปราศจากอันตราย

รพพระนิรันตราย (องค์ใหม่)
พระพุทธรูปศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ช่วงปี พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑.๖๕ ซม. องค์พระสูง ๒๐.๓๐ ซม. วัสดุทองคำ ประทับ นั่งวัชราสนะ แสดงธยานะมุทราโดยพระหัตถ์ขวาช้อนบนพระหัตถ์ซ้ายเหนือ พระเพลา มีพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนลาฏค่อนข้างแคบ พระขนงเป็น รูปปีกกา มีอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เรียว พระกรรณคล้ายมนุษย์สามัญ พระเศียรประดับด้วย ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก ปราศจากเกตุมาลาโดยปรากฏรัศมีรูปเปลวไฟ เหนือพระเศียร องค์พระพุทธรูปครองอุตราสงค์จีบเป็นริ้วเหมือนผ้าตาม ธรรมชาติห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา เหนือพระอังสาซ้ายมีสังฆาฏิขนาดใหญ่ พาดทับยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายตัดเป็นเส้นตรง อันตรวาสกมีลักษณะ คล้ายริ้วผ้าตามธรรมชาติเช่นเดียวกับอุตราสงค์ ซึ่งเป็นการครองผ้า อย่างธรรมยุติกนิกาย
พระพุทธรูปประทับนั่งบนปัทมาสน์อันประกอบด้วยกลีบบัวคว่ำและ กลีบบัวหงายเหนือฐานแข้งสิงห์ และฐานเขียงแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นที่สำหรับ รับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นรูปศีรษะโคอันแสดงเป็นที่หมายพระโคตร ซึ่งเป็น โคตมะอันเป็นแบบที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริ ให้สร้างขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระนิรันตรายองค์นี้ด้วยทองคำตามพุทธลักษณะสวมพระพุทธรูป นิรันตราย องค์เดิมอีกชั้นหนึ่ง กับทั้งให้หล่อด้วยเงินไล่บริสุทธิ์เป็นคู่กัน อีกองค์หนึ่ง
ปัจจุบันพระนิรันตรายประดิษฐานอยู่ในหอพระสุลาลัยพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร และได้รับการอัญเชิญเข้าในงานพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีหล่อพระพุทธรูป และพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น
ประวัติพระนิรันตราย
พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ มีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2399 ตามประวัติกล่าวไว้ว่า กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ท่านฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยังเดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง ท่านจึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรจึงได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดฯ ว่า...สองพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลาย หรือซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วยังมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย….จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานเงินตราให้เป็นรางวัล และโปรดให้เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำไปประดิษฐาน ณ หอพระเสถียรธรรมปริตคู่กับพระกริ่งทองคำน้อย
ในปี พ.ศ.2403 มีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริต ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป เป็นที่น่าแปลกใจที่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า...พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง...พระองค์จึงทรงถวายพระนามว่า "พระนิรันตราย"
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อ พระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระนิรันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง และโปรดฯ ให้หล่อเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์อีกองค์หนึ่งไว้คู่กัน
เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกันเป็นเนื้อทองเหลือง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ จำนวน 18 องค์เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างทำการกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุติตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก หลังจากนั้น พระองค์ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละองค์ในเวลาต่อมา.............