รายละเอียด:
พระกริ่งวัดตรีทศเทพ 2530 เนื้อนวะ พระดีพิธียิ่งใหญ่ ในหลวงเสด็จฯ พระสังฆราช ประธานในพิธี ที่สุดแห่งพระกริ่งวัดตรีฯ ต้องรุ่นนี้เท่านั้น หายากสุด ๆ แล้วครับ กล่องครบถ้วน
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร ของดีปี 2530 เนื้อนวะ พร้อมกล่องและพระชัยวัฒน์ ด้านหลังมีโค๊ต ที่กล่องมีข้อความว่า พระชัยวัฒน์ นวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร มหามงคลวาร เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร 5 ธันวาคม 2530”
สำหรับท่านที่มีพระกริ่งปวเรศ ปี 2530 แล้ว ก็ต้องมีรุ่นนี้ด้วยครับ เพราะว่าจัดสร้างในวาระมหามงคล ในหลวงครบ 5 รอบนักษัตริย์
และหากต้องสะสมก็ต้องมีสภาพแบบนี้ครับ สวยแชมป์ เพราะเนื่องจากพระรุ่นนี้ เป็นแบบหล่อโบราณ ฉะนั้นผิวองค์พระโดยทั่วไปจึงไม่เรียบ น้อยองค์นักที่จะผิวงาม เรียบร้อยแบบนี้ ครับ.....




ประวัติพระและพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพวรวิหาร ของดีปี 2530
เพื่อเป็นการถวายพระราชกุศลในวโรกาสมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบพระนักษัตร หลังจากที่วัดตรีทศเทพวรวิหารได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สืบเนื่องจากอุโบสถหลังเก่าทรุดโทรม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมตำรวจ และการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่นี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ รับเป็นองค์อุปถัมภ์ในการดำเนินการสร้าง
หลังจากที่สร้างอุโบสถเสร็จสิ้น ทางเจ้าอาวาสและกรรมการวัดจึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจำลอง"พระพุทธนวราชบพิตร" ที่พระราชทานแก่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับหล่อเป็นพระประธานในพระอุโบสถ โดยนำมาขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
หลังจากทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการจัดสร้างได้ ทางกรรมการวัดจึงได้ดำเนินการออกแบบและปั้นองค์พระประธาน และได้จัดสร้าง"พระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร" ขึ้นด้วย แล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อ "พระพุทธนวราชบพิตร" พระประธานในพระอุโบสถ พร้อมกับพระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร โดยเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยทรงเททองฯ ในวันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2530 มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้นเฝ้าฯ รับเสด็จ
พระพุทธนวราชบพิตร สำหรับเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดตรีทศเทพวรมหาวิหาร มีขนาดหน้าพระเพลา (หน้าตัก) กว้าง 61X9 นิ้ว สูง 89 นิ้ว พระรัศมี 14 นิ้ว ฐานล่างถึงฐานบัว 19 นิ้ว ฐานล่างกว้าง 72 นิ้ว มีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธนวราชบพิตรปี พ.ศ.2509
พระกริ่งพุทธนวราชบพิตร ได้ใช้แบบพระกริ่งวัดตรีทศเทพวรวิหาร ตามแบบที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ประทานให้จัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในการผูกพัทธสีมาวัดตรีทศเทพวรวิหาร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492 นำมาจัดสร้างใหม่มีขนาดสูง 3.3 ซม. ฐานกว้าง 1.9 ซม. ที่ฐานด้านหลังมีกลีบบัวคว่ำบัวหงายจำนวน 2 คู่ โดยจัดสร้าง 2 เนื้อ คือ เนื้อนวโลหะ จำนวน 500 องค์ (เนื้อมวลสารจะกลับดำ) เนื้อทองลำอู่ จำนวน 499 องค์ (เนื้อมวลสารจะกลับน้ำตาลอมแดง)
พระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร ลักษณะเหมือนพระกริ่งฯ ทุกประการ เพียงแต่ขนาดเล็กกว่า คือมีขนาดสูง 1.8 ซม. ฐานกว้าง 1 ซม.
โค้ดที่ใช้ตอกพระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร เป็นรูปเม็ดงาภายในมีลายเส้นเป็นเลข ๙ (ไทย) หรือตัวอุณาโลม อันหมายถึงรัชกาลที่ 9 พระกริ่งจะตอกโค้ดที่ฐานด้านหลังข้างกลีบบัวคว่ำบัวหงาย พระชัยวัฒน์ฯ จะตอกโค้ดที่ใต้ฐานด้านล่าง นอกจากนี้ กรรมการจัดงานได้ทาสีแดง (ชาด) แบบเดียวกับที่ทาในพระอุโบสถที่ใต้ฐานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ฯ ทั้ง 2 เนื้อ คือ นวโลหะและทองลำอู่ จำนวน 99 ชุด สำหรับแจกกรรมการและสมนาคุณผู้บริจาคทรัพย์ร่วมสร้างพระประธานพระพุทธนวราชบพิตร
ชนวนโลหะสำคัญที่ใช้ในการหล่อพระชุดนี้ ประกอบด้วย 1.ทองชนวนที่เหลือจากการหล่อ "พระพุทธนวราชบพิตร" ปี พ.ศ.2509 (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ 2.ชนวนพระกริ่งปวเรศ 5 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ.2530 3.ชนวนพระกริ่ง ภปร.50 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ.2527 4.ชนวนพระกริ่งเป็งย้งหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ปี พ.ศ.2520 5.ทองชนวนที่เหลือจากการหล่อพระพุทธรูป ภปร.ปี พ.ศ.2508 วัดบวรนิเวศวิหาร นอกจากนี้ ยังมีแผ่นทองแดงจารอักขระจากพระอาจารย์อีกมากมาย เช่น สมเด็จพระญาณสังวร พระครูสุทรธรรมกิจ (หยอด) พระครูมนูญกรรมวัตร (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ จังหวัดระยอง ฯลฯ
พิธีพุทธาภิเษก
พระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 แห่ง ณ วัดตรีทศเทพวรวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์) วัดราชบพิธ สมเด็จพระญาณสังวร (สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน) พระวัชรธรรมาภรณ์ (เจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพวรวิหาร) ทรงเข้าร่วมพิธีทุกครั้ง
การให้บูชาพระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร สำหรับผู้มีจิตศรัทธาที่ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล ในการหล่อพระพุทธนวราชบพิตร พระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร จำนวน 10 ราย โดยบริจาครายละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ได้รับพระราชทานพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ฯ จำนวน 1 ชุด ทางวัดตรีทศเทพวรวิหารให้ผู้มีจิตศรัทธาเช่าบูชาชุดละ 20,000 บาท เพื่อบริจาคร่วมสร้างพระประธาน จะได้รับคนละ 1 ชุดเท่านั้น ดำเนินการได้ไม่นาน พระวัชรธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพ ได้ถึงแก่มรณภาพ ทำให้หยุดการเช่าบูชา ส่วนที่เหลือจึงเก็บไว้เป็นสมบัติของวัด โดยไม่มีการนำมาให้เช่าบูชาแต่อย่างใด พระชุดนี้จึงพบเห็นน้อย
พระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร เป็นวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชโดยตรง เพราะมีส่วนผสมจากทองชนวน พระพุทธนวราชบพิตร ปี พ.ศ.2509 ที่พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย และเป็นวัตถุมงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองด้วยพระองค์เอง เช่นเดียวกับพระกริ่ง 7 รอบ และพระกริ่งปวเรศครบ 5 รอบแห่งวัดบวรนิเวศวิหาร อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็น "นวราชบพิตร" ซึ่งถือเป็นพระนามของพระองค์ ดังนั้น พระนามของพระชุดนี้จึงถือว่าเป็นสิริมงคลยิ่งอีกประการหนึ่ง.
ยกช่อฟ้าโบสถ์วัดตรีทศเทพ ร่วมบูชาพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปี 30
'วัดตรีทศเทพ' แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ สร้างเมื่อประมาณพ.ศ. 2403 ในสมัยรัชกาลที่ 4 กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร (พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์) ต้นตระกูล "สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา" ทรงสร้างขึ้นแต่ไม่สำเร็จสิ้นพระชนม์เสียก่อน ต่อมา กรมหมื่นมเหศวรศววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์ ต้นตระกูล นพวงศ์ ณ อยุธยา) ทรงสร้างต่อแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งสององค์เป็นเจ้าพี่เจ้าน้อง ในพระมารดาเดียวกัน คือ ในเจ้าจอมมารดาน้อย ซึ่งเป็นเจ้าจอมองค์แรกในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้าจอมก่อนทรงผนวชและก่อนเสวยราชสมบัติ
มีจุดประสงค์เกี่ยวกันคือ สร้างวัดนี้เพื่ออุทิศแก่เจ้าจอมมารดาน้อย เมื่อสร้างไม่แล้วเสร็จ รัชกาลที่ 5 ก็ทรงสร้างเพิ่มเติมขึ้นจนสำเร็จและได้พระราชทานนามวัดว่า วัดตรีทศเทพ แปลว่า เทวดาสามชายมาสร้างแล้วจึงสำเร็จ และได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 7 เดือนมกราคม 2492
วัดนี้ได้มีการปฏิสังขรณ์โดยลำดับมา และสิ่งก่อสร้างที่ก่อขึ้นใหม่มีกุฏิ 6 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล 10 หลัง และได้จัดผังวัดใหม่แยกเป็นเขตพุทธาวาส สังฆาวาส ฌาปนสถาน ปรับปรุงบริเวณวัดเทเป็นคอนกรีตและตัดถนนคอนกรีต
ศาลาบำเพ็ญกุศลมี 3 หลัง คือ ศาลาโสภานิเวศน์ ศาลาสุประดิษฐ์นพวงศ์ สร้างเสร็จเมื่อพ.ศ. 2522 และศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อพ.ศ. 2525 ศาลาทั้ง 3 หลัง คอลัมน์เป็นอาคารคอนกรีตทรงไทย
ผ่านพ้นไปเรียบร้อยสมบูรณ์ "วัดตรีทศเทพ" จัดพิธีสำคัญของวัดอย่างยิ่งใหญ่อลังการ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯทรงประกอบพิธี "ยกช่อฟ้าพระอุโบสถ" ซึ่งในพิธีครั้งนี้ทางวัดตรีทศ เทพได้จัดสร้าง "เหรียญและพระพิมพ์พระพุทธนวราชบพิตร" ด้านหลังประดิษ ฐานพระปรมา ภิไธย ภปร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้างขึ้น และพระราชทานไฟพระฤกษ์จุดในพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 เฉพาะช่วงเปิดสั่งจอง เหรียญเนื้อทองคำและเนื้อนวโลหะแก่ทองก็หมดเกลี้ยง ตอนนี้เหลือ เหรียญเนื้อเงินหน้ากากทอง, เนื้อเงิน, เนื้อทองแดงชุบสามกษัตริย์, เนื้อทองแดง และพระพิมพ์เนื้อผงพุทธคุณ ซึ่งสามารถร่วมบุญเช่าบูชาได้ทันที
ในโอกาสสำคัญยกช่อฟ้าพระอุโบสถ ทำให้ครบองค์ประกอบสมบูรณ์แห่งศาสนสถานนี้ วัดตรีทศเทพ โดยคณะกรรมการวัดจึงนำสุดยอดวัตถุมงคลของวัด ซึ่งเก็บรักษาไว้นานตั้งแต่เจ้าอาวาสรุ่นก่อนออกมาให้ร่วมบุญเช่าบูชา นั่นคือ "พระกริ่งพุทธนวราชบพิตร และพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร ปีพ.ศ. 2530"
พระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร ปีพ.ศ. 2530 นั้น จัดสร้างในคราวที่พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงษ์ ฐานวรเถร) เจ้าอาวาสวัดตรีทศเทพองค์ก่อน เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระวัชรธรรมาภรณ์ ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯทรงประกอบพิธีเททองพระพุทธนวราชบพิตร องค์พระประธาน เพื่อประดิษฐานในพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในคราวนั้น และได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ทรงเททองพระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร จำนวน 999 องค์ โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2530
พระกริ่งและพระชัยวัฒน์พุทธนวราชบพิตร วัดตรีทศเทพ ปี 2530 ทำตามตำรับโบราณ โดยใช้รูปแบบและวิธีการหล่อตามตำรับการสร้างพระกริ่งสายวัดบวรนิเวศวิหาร องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนบัลลังก์บัวเล็บช้างคว่ำหงาย กระแสองค์พระงดงามโบราณเรียก "เนื้อทองลำอู่" อันเป็นโลหะผสมแก่ทอง เนื้อเกือบเหมือนนวโลหะ ในตอนจัดสร้างแล้วเสร็จในปี 2530 มีผู้บริจาคบูชาจำนวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือท่านเจ้าอาวาสได้เก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน ทุกองค์มีโค้ดกำกับ
สอบถามรายละเอียดได้ที่วัดตรีทศเทพ แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
แหล่งข่าวจากหนังสือพิมพ์ข่าวสดข่าวสด