รายละเอียด:
พระศาสดาบูชา มวก. วัดบวรนิเวศวิหาร ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว รมดำ 21 พฤศจิกายน 2521 รุ่นแรก ร.10 ทรงเททอง ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประวัติพระศาสดา

ประวัติพระศาสดา
เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพ
ระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด
ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและมีพระราชดำริว่า พระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารที่เดียวกับพระพุทธชินสีห์ เป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐาน จึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อนเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๗

วิหารพระศาสดา
วิหารพระศาสดา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพุทธาวาส ต่อจากพระเจดีย์และวิหารเก๋ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างในพุทธศักราช ๒๔๐๒ เดิมที่นี้เป็นคูและที่ตั้งคณะลังกา แต่โปรดให้ถมและรื้อเพื่อสร้างพระวิหาร พระวิหารหลังนี้มีขนาด ๕ ห้อง มีเฉลียงรอบ ภายในแบ่งเป็น ๒ ตอน คือทางทิศตะวันออก ๓ ห้อง ประดิษฐานพระศาสดา ทิศตะวันตก ๒ ห้อง ประดิษฐานพระพุทธไสยา หลังคาซ้อนชั้น ๒ ชั้น หน้าบันรวยระกาไม่มีลำยอง ลวดลายหน้าบันเป็นปูนปั้นรูปดอกพุดตาน ตรงกลางเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพาน มีฉัตร ๒ ข้าง ซึ่งเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๔ หลังคามุงกระเบื้องกาบกล้วย ซุ้มประตูหน้าต่างด้านนอกเป็นลวดลายปูนปั้นรูปดอกพุดตานใบเทศปิดทอง ตรงกลางซุ้มด้านบนทำเป็นรูปพระมหามงกุฎมีฉัตรอยู่ ๒ ข้างเช่นเดียวกับหน้
าบัน การก่อสร้างวิหารพระศาสดาค้างมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดให้ดำเนินการต่อ โปรดให้ปิดทองพระศาสดา พระพุทธไสยาและซุ้มประตูหน้าต่าง เขียนภาพจิตรกรรมที่บานประตู หน้าต่าง เพดานและผนัง
จิตรกรรมฝาผนังวิหารพระศาสดา เป็นจิตรกรรมที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่
๕ จากรูปแบบของภาพจิตรกรรมอาจกล่าวได้ว่าเป็นฝีมือลูกศิษย์ของขรัวอินโข่ง เรื่องราวในภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระศาสดาแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
ภาพจิตรกรรมในห้องพระศรีศาสดา
๑ ผนังตอนล่างระหว่างช่องประตูหน้าต่าง เป็นเรื่องการปฏิบัติธุดงควัตร ๑๓
๒ ผนังตอนบนเหนือช่องประตูหน้าต่าง เป็นภาพเล่าเรื่องตำนาน พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
๓ หลังบานประตูหน้าต่างเขียนภาพกระบวนจีน
๔ กกประตูหน้าต่างเขียนภาพอสุภกรรมฐาน ๑๐ และภาพปริศนาธรรม
ภาพจิตรกรรมในห้องพระไสยา
๑ ผนังสกัดด้านหลังพระไสยา เป็นภาพพุทธประวัติตอนปรินิพพาน
๒ ผนังตอนล่างด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เป็นภาพบุคคลต่างชาติ
๓ ผนังตอนล่างด้านทิศเหนือเป็นภาพโต๊ะบูชาแบบจีน
๔ ผนังตอนบนทั้ง ๓ ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก เป็นภาพเทพชุมนุม
๕ หลังประตูหน้าต่างเขียนภาพกระบวนจีน
๖ กกประตูหน้าต่างเขียนภาพอสุภกรรมฐาน และปริศนาธรรม (เกี่ยวกีบการทำบาป ปาณาติบาต)
เรื่องราวที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังช่วงรัชกาลที่ ๔-๕ ในสกุลช่างขรัวอินโข่งนิยมเขียนเรื่องที่เป็นพงศาวดาร หรือปริศนาธร
รม เป็นส่วนใหญ่ ในวิหารพระศาสดานี้ก็เป็นเรื่องธุดงควัตร ๑๓ เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อที่พระสงฆ์ปวารณาตัวเพื่อประพฤติปฏิบัติ เพื่อกำจัดกิเลส เรื่องตำนานการสร้างพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา ก็เป็นเรื่องแสดงความยึดมั่นนับถือและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ส่วนภาพจิตรกรรมในห้องพระไสยาแม้จะเป็นภาพเรื่อพุทธประวัติตอนปรินิพพาน แต่ก็มีรูปแบบต่างไปจากภาพเขียนในอดีตที่มักเขียนเป็นภาพเรื่องราวตั้งแต่ทรงปรารภเรื่องปรินิพพานกับพระอานนท์ การเดินทางไปเมืองกุสินารา การรับบิณฑบาตและฉันอาหารมื้อสุดท้ายจากนายจุนนะ ทรงอาพาธ สุภัทธะปริพาชกบวชเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นรูปสุดท้าย และภาพตอนมหาปรินิพพานใต้ต้นสาละ ส่วนจิตรกรรมในห้องพระไสยานั้นใช้พระไสยาเป็นองค์ประกอบภาพแทนพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานและเขียนภาพไม้สาละคู่ และเหล่าพระสาวกซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนที่แปลกออกไปจากเดิม