รายละเอียด:
โปรวันแม่ 12 สิงหาวันเดียวเท่านั้น......ราคาปกติ 30,000 บาท
เหรียญพระพุทธศรีสุริโยทัย สก.ทองคำ
1 ใน 399 เหรียญเท่านั้น..... เหรียญทองคำ พระพุทธสุริโยทัย หลัง สก. ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จมาประกอบพิธีทรงเททอง และพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปี2534 น้ำหนังทองคำ 1 บาท ทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์ สร้างแค่ 399 เหรียญเท่านั้น สวยเดิมๆ พร้อมกล่อง และหายากมากครับ

ประวัติพระศรีสุริโยทัย
ข้อความจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ซึ่งแต่งขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๓ ถือเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่สุดเล่มหนึ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงศึกระหว่างพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าหงสาวดี รวมทั้งการสูญเสียสมเด็จพระองค์มเหสีคือ "พระสุริโยทัย" ไว้ดังนี้ "เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจ้า เสด็จออกไปรับศึกหงสานั้น สมเด็จพระองค์มเหสีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรี เสด็จทรงช้างออกไปโดยเสด็จด้วย และเมื่อได้รับศึกหงสานั้น ทัพหน้าแตกมาประทัพหลวงเป็นโกลาหลใหญ่ และสมเด็จพระองค์มเหสี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราชบุตรีนั้น ได้รบด้วยข้าเศิกเถิงสิ้นชนม์กับคอช้างนั้น" เรื่องราวเกี่ยวกับพระสุริโยทัยตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นได้ถูกระบุไว้้เพียงเท่านี้ (เฉพาะช่วงไสช้างออกช่วยรบ) ซึ่งนับว่าน้อยเต็มทีที่จะทำให้เราทราบไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพระองค์ รวมทั้งบริบททางสังคมที่เกี่ยวโยงกับช่วงชีวิตท่านในสมัยนั้นอย่างละเอียด นักประวัติศาสตร์จำต้องใช้้ความอุตสาหะยิ่งในการประมวลหลักฐานจากพงศาวดารที่บันทึกในเวลาต่อมา รวมทั้งเทียบเคียงตรวจสอบกับเอกสารทางประวัติศาสตร์หลายชิ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อันเป็นช่วงสมัยที่พระสุริโยทัยดำรงพระชนม์อยู่ กระนั้นก็ยังมี "ช่องว่างทางประวัติศาสตร์" ที่ยังถกเถียงกันไม่จบหรือมีประเด็นใหม่ๆ เกิดขึ้นให้วิเคราะห์กันต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด ฉะนั้นกว่าจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับช่วงชีวิตของพระสุริโยทัยก็ต้องค้นคว้าตำราอ้างอิงกันมากมาย และไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายเลย ที่คนไม่มีพื้นความรู้ทางนี้จะทำความเข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นได้ในเวลาอันสั้น แต่ผู้คนในปี ๒๐๐๑ นั้นโชคดีกว่าใคร เพราะหากเป็นไปตามกำหนด
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ได้มีการรื้อถอนทำลายซากโบราณสถานบริเวณนี้เพื่อตั้งเป็นกรมทหารมณฑลกรุงเก่า โดยไม่มีใครรู้ประวัติความเป็นมาของวัดนี้สองปีให้หลัง พระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าได้ทำหนังสือ "อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา" ขึ้น ซึ่งระบุว่า กรมทหารที่จะสร้างใหม่นั้นตั้งตรงบริเวณที่เคยเป็นสวนหลวงและวัดสบสวรรค์ซึ่งเคยเป็น์ที่ไว้พระอัฐิพระสุริโยทัย แต่การถางทำลายพื้นที่ได้กระทำลงไปแล้วตามความจำเป็นของการก่อสร้าง มีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิสมเด็จพระสุริโยทัยน่าจะเป็นพระเจดีย์องค์ระฆังในทรงกลม อยู่คู่กับเจดีย์แบบเดียวกันอีกองค์หนึ่งซึ่งบรรจุพระอัฐิของพระราชบุตรีที่ตามเสด็จออกลองกำลังข้าศึกและสิ้นพระชนม์ในคราวนั้นด้วยดังมีระบุไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ แต่เจดีย์ทั้งสององค์นี้สันนิษฐานว่าอาจถูกรื้อทิ้งไปพร้อมซากโบราณสถานต่างๆ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่างไรก็ดี ยังคงเหลือเจดีย์ใหญ่อยู่องค์เดียวจากการรื้อถอนพ.ศ. ๒๔๕๔ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงสถาปนาให้เจดีย์ที่เหลืออยู่องค์เดียวในบริเวณนั้นว่า"เจดีย์ศรีสุริโยทัย" ซึ่งเป็นชื่อที่เราเรียกกันสืบมาจนปัจจุบัน ถือเป็นการสถาปนาอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญและเสียสละของสมเด็จพระสุริโยทัยขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หากพิจารณาเครื่องทองและวัตถุมีค่าที่พบในเจดีย์ศรีสุริโยทัย โดยเฉพาะเจดีย์หกเหลี่ยม (จำลอง) บรรจุผอบทอง ทำจากหินควอทซ์ รอบฐานตั้งเครื่องสูงโดยรอบ ภายในองค์เจดีย์ประดิษฐานผอบทอง ซึ่งบรรจุพระอัฐิธาตุ (ของพระสุริโยทัย?) นั่นแสดงว่า"เจดีย์ศรีสุริโยทัย" ต้องเคยเป็นพระเจดีย์องค์สำคัญของวัดสวนหลวงสบสวรรค์มาก่อน และจากการศึกษารูปแบบของเจดีย์นี้อย่างละเอียด ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม นักประวัติศาสตร์ศิลปะแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากรก็สามารถยืนยันได้้ว่าเจดีย์ศรีสุริโยทัยมีรูปแบบการก่อสร้างเก่าแก่ย้อนได้ไปถึงสมัยพระเจ้าจักรพรรดิอย่างแน่นอน แต่ยังมิอาจสรุปได้อย่างชัดเจนว่าเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอัฐิพระสุริโยทัยหรือไม่ ซึ่งยังต้องมีการศึกษาค้นคว้ากันต่อไป นอกจากการสถาปนา "เจดีย์ศรีสุริโยทัย" แล้ว รัชกาลที่ ๖ ยังทรงสร้าง "อนุสาวรีย์เทิดพระเกียรติสมเด็จพระสุริโยทัย"พร้อมจารึกข้อความสดุดีวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ไว้ทางทิศเหนือของเจดีย์ ๘๐ เมตร บริเวณหน้ากรมทหารซึ่งคนส่วนใหญ่มักคิดไปว่านั่นเป็นอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึก เพราะมีการนำอัฐิของทหารที่เสียชีวิตในสงครามโลก
ครั้งที่ ๑ มาไว้ใกล้กัน และยังจัดพื้นที่ให้ดูเหมือนตัดขาดจากองค์เจดีย์อีกด้วย พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา วัตถุมีค่าที่ค้นพบใน "เจดีย์ศรีสุริโยทัย" คราวบูรณะองค์พระเจดีย์ศรีสุริโยทัยครั้งใหญ่ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ อันได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัยและเจดีย์ทรงกลมทำจากหินควอทซ์ รวมทั้งผอบทองที่บรรจุพระอัฐิธาตุภายในเจดีย์แก้วหกเหลี่ยมแผ่นทอง ฯลฯ ได้ถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย เยื้องสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของไทยที่มีรูปแบบการจัดแสดงแผนใหม่โดยนำหลักแสงมาใช้จัดแสดง และไม่ตั้งวัตถุแน่นจนเกินไป โบราณวัตถุที่ค้นพบ เช่น เครื่องทองที่ขุดพบจากกรุวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ รวบรวมไว้ในห้องมหรรฆภัณฑ์ มีเครื่องราชูปโภคทองคำ ทองกร พาหุรัด ทับทรวง เครื่องประดับ เศียรสำหรับชายหญิง พระแสงดาบฝักทองคำประดับพลอยรวมทั้งพระอัฐิธาตุที่ขุดพบจากพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย "ทุ่งมะขามหย่อง" เป็นบริเวณที่กองทัพไทยปะทะกับทัพพม่า ในศึกที่พระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนคอช้างครั้งนั้น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีน้ำพระราชหฤทัยมุ่งที่จะเทิดทูนพระเกียรติคุณและวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของพระสุริโยทัย จึงโปรดฯ ให้สร้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ สถานที่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบ้านใหม่ จ.พระนครศรีอยุธยา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ แล้วเสร็จในปี ๒๕๓๘ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น๒๙๘ ล้านบาท กินเนื้อที่ทั้งหมดถึง ๒๕๗ ไร่ โดยจัดเป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับเกษตรกร และจำลองสถานที่ทางประวัติศาสตร์ให้รำลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญเสียสละของพระสุริโยทัย เคยมีคดีประหลาดพาดหัวข่าวเมื่อต้นปี๒๕๔๒ ให้ขบขันเกี่ยวกับพระราชานุสาวรีย์นี้ว่า มีคนปีนขึ้นไปหักดาบทหารที่พิทักษ์เท้าช้างพระสุริโยทัย แถมยังหักให้งออีกตั้ง ๖ เล่มอย่างน่าสงสัย?! ชายผู้นั้นหลังถูกตำรวจจับให้การว่า ดาบทหารของพระสุริโยทัยพุ่งชี้ไปทางบ้านของเขาเลยเกิดมีแต่เรื่องเดือดร้อน!! สภอ.พระนครศรีอยุธยาได้รับแจ้งเหตุเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๑ หลังสอบสวนสรุปความได้ว่า ช่วงนั้นมีการทำความสะอาดอนุสาวรีย์ จึงมีนั่งร้านทิ้งไว้ ชายผู้นั้นซึ่งเคยต้องโทษมียาเสพติดในครอบครอง คงกำลังเมาค้างช่วงฉลองปีใหม่จึงปีนขึ้นไปหักดาบ งอดาบด้วยความเพี้ยน กระนั้นก็ทำให้เกิดค่าเสียหายทั้งหมดถึงหนึ่งแสนสามหมื่นบาท ถึงป่านนี้คงปิดคดีความไปเรียบร้อยแล้ว ภาพวาดพระสุริโยทัยชนช้าง ภาพวาดพระสุริโยทัยชนช้าง เป็นฝีพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ที่ได้รับรางวัลที่ ๓ จากการ "ประกวดภาพวาดประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย" พ.ศ. ๒๔๓๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ส่วนภาพที่ได้รางวัลที่ ๑ คือภาพช้างพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่งในแผ่นดินพระเจ้าท้ายสระ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงวาดเช่นกัน (รางวัลที่ ๑ สมัยนั้นได้เงิน ๑ ชั่ง ๔๐ บาท ลูกปืน ๑) รางวัลที่ ๒ เป็นภาพตีเมืองสวางคบุรี ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี หลวงสุวรรณสิทธิวาดปัจจุบันบางส่วนของภาพวาดเหตุการณ์สำคัญในพงศาวดารและฉากในวรรณคดีไทยประกอบโคลงบรรยายภาพ
ที่เข้าร่วมในงาน ได้ประดับอยู่ใน "พระที่นั่งวโรภาสพิมาน" พระราชวังบางปะอิน พระที่นั่งวโรภาสพิมาน เป็นพระที่นั่งทรงตึกชั้นเดียว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นตรงบริเวณที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ เมื่อแรกสร้างเป็นอาคารตึก ๒ ชั้น ต่อมาได้ ดัดแปลงรื้อลงเป็นชั้นเดียว ใช้เป็นที่ประทับและมีท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการภายในห้องโถงรับรองและห้องทรงพระสำราญ ปัจจุบันพระที่นั่งวโรภาสพิมานมิได้เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชม เพราะยังใช้เป็นที่ประทับเมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานยังพระราชวังบางปะอิน พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติทีฆายุมงคล
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองบัญชาการทหารสูงสุดดำเนินการสร้างพระพุทธปฏิมากร "พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติทีฆายุมงคล" เพื่อประดิษฐานในองค์พระเจดีย์และทำพระราชพิธีสมโภชพระเจดีย์ศรีสุริโย พร้อมเปิดอาคารนิทรรศการเกียรติประวัติของสมเด็จพระสุริโยทัยในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๔ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย สิทธิรัตน์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้เขียนแบบและปั้นองค์พระพุทธปฏิมากร เป็นพระพุทธปฏิมากรทรงเครื่อง ปางประทานพร สมัยอยุธยาตอนกลางก่อนจะมีการปั้นหุ่นหล่อองค์พระพุทธปฏิมากรที่ทรงพระราชอุทิศนี้
ทรงโปรดฯ ให้ตั้งการพิธีมังคลาภิเษกเสกดินและน้ำพุทธมนต์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อนำไปใช้ประกอบกรรมวิธีปั้นผิวนอกพระพุทธปฏิมากรที่จะหล่อ ในการนั้น กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดสร้างพระพุทธปฏิมากรองค์ทองคำและเงินทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นอกจากนี้ยังผลิตเนื้อโลหะปิดทองและเนื้อโลหะรมดำ รวมทั้งเหรียญรูปไข่ เพื่อให้ประชาชนผู้มีความเลื่อมใสในพระมหากรุณาธิคุณพระสุริโยทัยได้มีโอกาสนำไปสักการบูชา ทุกก้าวที่ได้เหยียบย่างไปยังสถานที่ต่างๆอันเกี่ยวเนื่องกับพระสุริโยทัย ห้วงความคิดในอดีตที่ขาดหายไปคงได้รับการปะติดปะต่อให้เป็นรูปร่างจุดประกายให้จินตนาการไปถึงบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาในช่วงที่มีความเปลี่ยนแปลงและเผชิญกับเหตุการณ์คับขันสะท้อนด้านดีเลวของมนุษย์ที่มีทั้งความซื่อสัตย์ และแก่งแย่งช่วงชิง มองเห็นสัจธรรมแห่งความรุ่งโรจน์และร่วงโรย
ในอดีต