รายละเอียด:
เหรียญเซี่ยวกาง วัดบวรนิเวศ ร.ศ. 229 เนื้อนวะ สร้างเพียงแค่่ ๒๐๐ เหรียญเท่านั้น องค์นี้หมายเลข ๕๕ เลขสวย ด้านหน้ามีแป้งเจิม ที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงเจิมด้วยพระองค์เอง มาพร้อมกล่องลายไม้สวยครับ
ประวัติ
คำว่า"เซี่ยวกาง"มีกล่าวไว้ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีว่า ในปีจุลศักราช๑๑๕๘ (พ.ศ. ๒๓๓๙) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ได้สร้างพระเมรุและมีเซี่ยวกางประจำประตู
ในหนังสือ "ภาษาไทย ภาษาจีน" ของนายเฉลิม ยงบุญเกิด อธิบายไว้ว่า
"เซี่ยวกาง รูปทวารบาลคือผู้รักษาประตู มักทำไว้สองข้างประตูเข้าใจว่ามาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว อ่านว่า เซ่ากัง แปลว่า ยืนยาม, ตู้ยาม, ซุ้มยาม ทวารบาลของจีนจึงเป็นเจ้าแห่งผีทั้งหลายเชื่อกันว่าจะป้องกันภูติผีปีาจ ไม่ให้ล่วงล้ำเข้าไปได้ต่อมาจึงนิยมวาดรูปอวยซีจงและซินซกโป๊ เป็นทวารบาลวัดหรือศาลเจ้าเล่ากันว่าเมื่อพระเจ้าไท่จง (หลีซีบิ๋น) แห่งราชวงศ์ถังทรงพระประชวรในขณะที่ทรงพระประชวรได้ทอดพระเนตรเห็นแต่ปีศาจเป็นเนืองนิจและให้ให้นายทหารเอกชั้นผู้ใหญ่ ๒ นาย คือ อวยซีจง และ ซินซกโป๊มายืนเฝ้าที่หน้าห้องบรรทมจึงเป็นประเพณีนิยมในการวาดรูปอวยซีจงและซินซกโป๊ไว้สองข้างประตูวัดและศาลเจ้า"
ส่วนพระยาโกษากรวิจารย์ (บุญศรี ประภาศิริ) สันนิษฐานว่าเซี่ยวกาง น่าจะมาจากคำว่า"จิ้นกางเสี่ยว"แล้วเรียกเพี้ยนเป็น "เซี่ยวกาง"
ลักษณะของเซี่ยวกางไม่เหมือนเทวดาไทย คือมีหนวดเครายาว ถืออาวุธด้ามยาวการแต่งกายผิดไปจากโขนละครของไทยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีพระอธิบายไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ภาค ๔ ว่า
"อันเครื่องแต่งตัวเซี่ยวกางนั้นทำให้น่าสงสัยมากหากจะดูแต่จำเพาะให้น่าสงสัยมาก หากจะดูแต่จำเพาะสิ่งที่เป็นของไทยทั้งนั้นแต่ไม่มีรูปภาพไทยอย่างอื่นแต่งตัวเหมือนอย่างนั้นเลยท่วงทีไปทางข้างแขกหรือจีน จึงได้ลองคลำถามพระจีนเจนอักษรดูได้ความว่าทางจีนจะมีรูปทำไว้ตามบานประตูเหมือนกันเรียกว่า "มิ่งซิ้น" แปลว่าเทวดารักษาบานประตูไปทางพวกทวารปาละ เสียงไม่เข้าใกล้ เขี้ยวกาง เซี่ยวกางจรีกาง อย่างใดเลย"
รูปเซี่ยวกางส่วนมากจะยืนอยู่บนหลังสิงโต ตามคติของจีนสิงโตมีหน้าที่เฝ้าตามประตูศาสนสถาน เช่น วัด โบสถ์ ศาลเจ้าเซี่ยวกางก็มีหน้าที่อย่างเดียวกัน อิริยาบถของเซี่ยวกางโดยทั่ว ๆไปจะเป็นรูปยืน มือข้างหนึ่งจับที่ปลายเครา และมืออีกข้างหนึ่งถืออาวุธเช่น รูปเซี่ยวกางที่ผนังซุ้มประตูพระอุโบสถวัดราชบพิธส่วนเซี่ยวกางที่ทำแปลกออกไปคือเซี่ยวกางที่บานประตูใหญ่วัดบวรนิเวศวิหารตนหนึ่งมือซ้ายถือสามง่าม มือขวาถือกริช เหยียบบนหลังจระเข้อีกตนหนึ่งมือขวาถือโล่ มือซ้ายถือดาบ เหยียบบนหลังมังกร.
มีเรื่องเล่ากันว่าสมัยที่ยังมีหวย กข พวกเล่นหวยกข จะมาบนขอหวยกันมากเมื่อสำเร็จผลตามประสงค์ก็จะเอาฝิ่นมาป้ายที่ปาก "เซี่ยวกาง" เป็นการแก้บนบางทีจะเป็นเพราะคนจีนสมัยรัชกาลที่ ๓-๔ สูบฝิ่นกันมากคงคิดว่าเซี่ยวกางก็คงชอบด้วย ที่ปากเซี่ยวกางจึงดำด้วยฝิ่น
วัดบวรนิเวศวิหารวัดนี้มี“ประตูเซี่ยวกาง” ตรงประตูทางเข้าวัดด้านหน้าพระอุโบสถที่ได้รับอิทธิพลของจีนมาอย่างเด่นชัดโดยประตูเซี่ยวกางแห่งนี้เป็นรูปเทวดาผี ใช้ไม้แกะเป็นรูปเทวดา หนวดเครายาวปิดทองเหลืองอร่าม ตนหนึ่งมือซ้ายถือสามง่าม มือขวาถือกริชเหยียบบนหลังจระเข้ อีกตนหนึ่งมือขวาถือโล่ มือซ้ายถือดาบเหยียบบนหลังมังกรมีตำนานอยู่ในลัทธิมหายานว่าเป็นจอมแห่งเทวดาผู้พิทักษ์ประตูวัดซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ วังหน้าในรัชกาลที่ 3 ได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ตามคตินิยมแบบจีน
ส่วนที่แปลกและสะดุดตาของผู้คนที่เดินทางผ่านไป-มา ก็คือบริเวณปากของเซี่ยวกางวัดบวรนิเวศวิหาร จะมีสีดำซึ่งแม่ค้าพวงมาลัยหน้าประตูวัดเล่าว่า สมัยก่อนยุคที่เมืองไทยยังดูดฝิ่นได้มีชาวจีนคนหนึ่งติดฝิ่นงอมแงมพอต่อมาทางการได้ปราบทำลายโรงงานยาฝิ่นจนหมดสิ้น เมื่อแกหาฝิ่นดูดไม่ได้สุดท้ายเลยไปลงแดงตายตรงประตูนี้หลังจากเมื่อทางวัดมาพบจึงได้ทำพิธีกงเต๊กให้ต่อมาชาวจีนคนนั้นได้ไปเข้าฝันสมเด็จท่านเจ้าอาวาสว่าให้ทำที่ให้แกอยู่แล้วแกจะเฝ้าวัดให้ทางวัดจึงได้สร้างกำแพงทำซุ้มประตูแล้วอันเชิญดวงวิญญาณชาวจีนคนนั้นมาสถิตย์อยู่ ณ ประตูแห่งนี้